วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สามพันโบก

แกรนด์แคนย่อยเมืองสยาม คือแก่งหินงามสามพันโบก


             
   นายเรืองประทิน  เขียวสด  ครูโรงเรียนบ้านสองคอน  ซึ่งเป็นในผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว  ระบุว่า  สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา  ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่  สูงประมาณ  3-7  เมตร  กว้างประมาณ  20  เมตร  
                แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ณ เส้นรุ้งที่ N.15 องศา 47.472 ลิปดา และเส้นแวงที่ E.105 องศา  23.983 ลิปดา ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม 
                จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน  ทราย  และเศษไม้  กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง  มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย   จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า  สามพันโบก 
                แก่งสามพันโบก  เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี
เปิดตำนานสามพันโบก
                จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง  ทุ่งหินเหลื่อม  หินหัวสุนัข  และปู่จกปู
                ตำนานหินหัวสุนัข   ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง  มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา  บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก  จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ  กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด
                ตำนานหาดหินสี  หรือทุ่งหินเหลื่อม  ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว  ตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา  คือหินแต่ละก้อน  จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน  มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร  กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่  หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี  จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค  ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่  ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น  จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง  ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ  จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่
                ทุ่งหินเหลื่อม  ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ  จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย  ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร  และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ  ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง
                ตำนานปู่จกปู  หลุมโบกที่เกิดขึ้นมากมาย  ก่อเกิดเรื่องเล่า  ปู่พาหลานมาจับปาบริเวณถ้างต้อน  (ต้อนเป็นเครื่องมือดักปลาของคนอีสาน)  บังเอิญไม่สามารถจับปลาได้จึงใช้มือล้วงปูหินริมน้ำโขงจนเกิดโบกจำนวนมาก
                สามพันโบกในอดีต   เป็นแหล่งที่ชาวบ้านมาจับปลาในหน้าแล้งตามหลุมแอ่ง  โบก และสระบุ่ง  เนื่องจากลุ่มแอ่งจำนวนมากมายเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวนมากที่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงใช้สำหรับการดำรงชีพ
                สามพันโบกเริ่มเป็นที่รู้จัก  และปรากฏสู่สายตานักท่องเที่ยว  เมื่อนายเรืองประทิน  เขียวสด   ครูโรงเรียนบ้านสองคอน  ผู้บุกเบิกได้พบความงามของสามพันโบก  จึงได้ชวน  นายสมชาติ  เบญจถาวรอนันท์  เว็บมาสเตอร์ไกด์อุบลดอทคอม  นายชาย  บุดดีวัน  ผู้ใหญ่บ้านโป่งเป้าและ อบต.เหล่างาม  จัดกิจกรรม  แคมปิ้ง  เพื่อการประชาสัมพันธ์  ผ่านสื่อเว็บไซต์  ชุดกิจกรรมนอนกลางโขงชมทะเลดาว  เมื่อเดือน 15-16 ธันวาคม 2549  ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนชอบท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สำนักงานอุบลราชธานี  เขต 2 (ปัจจุบันเป็น ททท.สำนักงานอุบลราชธานี)  ได้นำแหล่งท่องเที่ยวนี้  เข้าในกิจกรรมท่องเที่ยวแม่น้ำโขงรับตะวันใหม่ก่อนใครในสยามมาตลอด
                สามพันโบกได้รับความสนใจอย่างมากเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุด เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก  เริ่มออกฉายภาพ  สถานที่ท่องเที่ยวซึงเป็นฉากจบของโฆษณาชุดนี้จึงกลายเป็นคำถามว่า  ที่ไหนกัน  เมืองไทยมีที่แห่งนี้ด้วยหรือ นับตั้งแต่นั้นมา  แก่งสามพันโบก  จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่  ที่กำลังเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวติดอันดับประดับประเทศ
การเที่ยวสามพันโบก 
                การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  ทำได้ 2 ทางคือ
1. เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ   ไปยังแก่งสามพันโบก  นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง  ต.สองคอน  ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระกว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง  หาดสลึง หินหัวพะเนียง  เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น  จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก  ศิลาเลข  หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือ
                ปากบ้อง  เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่  ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย  ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน -  มิถุนายน  ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย  ยาวกว่า 700 กิโลเมตร  เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด  “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก  ลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
                หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

หาดสลึง

จุดชมวิวหาดสลึง
                แก่งสองคอน   เกิดจากการเกาะหินหัวพะเนียงกลางลำน้ำโขงซึ่งเป็นเกาะหินขนาดใหญ่รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง  ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสายหรือสองคอน (ในภาษาถิ่นคอนแปลว่าแก่ง) จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
                หาดสลึง  เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล  ตั้งอยู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร  ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ – ตระการพืชผล – โพธิ์ไทร)  ในฤดูแล้ง  ประมาณมกราคม – มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง  จะมีหาดทรายที่สวยงาม  เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง  จากตำนานเชื่อกันว่า  ชื่อหาดสลึง  เกิดจากการที่คนมาเล่นน้ำช่วงสงกรานต์นานมาแล้ว  ในสมัยที่ใช้เหรียญสลึง 1 สลึงสมัยนั้น  มีค่าสามารถซื้อควายได้ 1 ตัว  ตามนิสัยของคนไทยบางคนเมื่อมารวมกันมาก  มักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ  ผู้ที่มาเล่นน้ำที่หาดแห่งนี้ได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยมีเดิมพันว่า  ณ  กลางเดือนเมษายน เวลาเที่ยงวันถ้าใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดได้ตลอดแนว (ยาว 860 เมตร) โดยไม่แวะพักระหว่างวิ่ง  จะได้รับเงินเดิมพัน 1 สลึง  นับตั้งแต่มีการเดิมพันมาไม่เคยมีใครได้รับรางวัลนี้เลย  ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง”

เครื่องมือจับปลาแบบเดียวกับภาพเขียนสีผาแต้ม

การตักปลา
                การตักปลาที่บ้านสองคอน  ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ  คือประเพณี ตักปลาในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่นตั้งใจมาดูเป็นพิเศษ  คือการ “ตักปลา” หน้าปากบ้อง  เพราะเป็นการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่นๆ  ไม่ต้องใช้เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห  แต่ใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคล้ายสวิงจับแมลงขนาดใหญ่คอยตักปลาที่วายจากเวินน้ำกว้างจะแหวกว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่ได้ร่วมกันจัดงาน  “เทศกาลตักปลา”  ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์  ของทุกปี  มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก  การท่องเที่ยวทางน้ำในช่วงเวลานี้นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวเพื่อชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตพื้นบ้าน ชมการประมงแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจ  ณ  ตำบลสองคอนและตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี

หินพัวพะเนียง

จุดชมวิวบนหินหัวพะเนียง
                หินหัวพะเนียง   อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือ  มีแก่งใหญ่ขวางกลางลำน้ำโขง  ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน  และในบริเวณใกล้เคียงยังมีถ้ำที่มีความสวยงามในลำน้ำโขงประกอบด้วย  ถ้ำนางต่ำหูกหาดหินสี, แก่งสองคอน, ภูเขาหิน  และหาดแห่
                ผาหินศิลาเลข   ร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจ ในแถบอินโดจีน  ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่าง หลี่ผี  เวียงจันทน์อยู่ก่อนถึงหาดหงส์  ที่ฝรั่งเศสแกะสลักตัวเลขที่หน้าผาหิน  สำหรับบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง  เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ  เนื่องจากหน้าที่น้ำหลากบริเวณนี้จะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก
                หาดหงส์  เนินทรายแม่น้ำโขงขนาดมหึมาเกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกันจนลักษณะพื้นที่เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่  มีลักษณะคล้ายกับทะเลทรายที่กว้างใหญ่  ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวหาดหงส์จะเป็นช่วงเวลาในยามบ่ายแก่ๆ  ช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า  ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมาก  เพราะแสงทองของดวงอาทิตย์จะกระทบกับทรายสีขาวระยิบระยับสวยงามยิ่งนัก
2. ขับรถเที่ยว  คือ หากต้องการไปชมสามพันโบกอย่างเดียวก็สามารถขับรถไปที่นั่นเพื่อชมความงามได้เลย  เพราะที่สามพันโบกรถสามารถเข้าไปจอดที่นั่นได้เลย
          สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล  และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ  ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็ก  ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000  แอ่ง หรือ  3 พันโบก  โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง  และคำว่า “โบก” เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก  กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ   แหล่งใหญ่ที่สุด  รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล
          สำหรับในช่วงหน้าแล้ง  สามพันโบก  จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง  ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ  บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ  บางแอ่งขนาดเล็ก  มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น  รูปดาว  วงรี  และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล  มีความสวยงาม
ชมภาพถ่ายจากกระทู้เรื่องสามพันโบก

วัดล้านขวด






วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด)

สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1984 หรือ พ.ศ.2527 ตั้งอยู่ในตัวอำเภอขุนหาญ การเดินทางจากศรีสะเกษไปอำเภอขุนหาญสามารถใช้เส้นทาง หมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุนหาญระยะทางประมาณ 70 กม. สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค นับเป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก
ที่วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือที่ชาวบ้านในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษรู้จักกันดีในชื่อวัดล้านขวดที่เขาเรียก กันแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า สถานที่ต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแต่ถูกประดับประดาไป ด้วยขวด
ใช้ขวดทั้งหมด 1,500,000 ขวด

เริ่มตั้งแต่ทางเข้าวัดทั้งกำแพงซุ้ม ประตูโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิ หรือแม้แต่ห้องน้ำ ก็ยังถูกตบแต่งด้วยขวดเช่นกัน

นอก จากความงดงามแปลกตาของขวดที่สลับสี และการวางลวดลายแล้ว เรา ยังทึ่งกลับความคิดในการนำฝาขวดมาปะติด จนได้เป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่เหมือนที่ ใดอีกด้วย




สิ่งเหล่านี้เกิด จากความคิดของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่หลอด ท่านบอกว่า การนำขวดมาตกแต่งนั้น นอกจากจะประหยัดในเรื่องของการทาสีแล้ว ที่สำคัญขวดแก้วนั้น ยังแฝงไปด้วยคติคือ ความใสของแก้ว เมื่อกระทบแสงแดดแล้ว ทำให้เกิดแสงสว่างเหมือนแสงธรรมที่ควรบรรลุถึง สำหรับขวดไม่ว่าจะคว่ำลง หงายขึ้น หรือวางในแนวนอน ก็ล้วนแต่มีคติสอนใจทั้งนั้น


ที่วัดล้านขวดแห่งนี้นับเป็นอีกหนึ่ง งาน สร้างที่มีเพียงแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ หากใครได้มีโอกาสผ่านมาจังหวัดศรีสะเกษแล้วละก็อย่าลืม
แวะชมความงดงามที่ไม่เหมือนใครของวัดนี้กันนะ

ผามออีแดง


                                                          ภาพโดย  :  www.traveleradvisor.net

รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
    อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ ประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีพื้นที่ตามแนวชายแดนตั้งแต่อำเภอน้ำยืนถึงอำเภอกันทรลักษณ์ เนื้อที่ราว 8 หมื่นไร่ บริเวณชายแดนไทยมีจุดชมทัศนียภาพทิวเขาพนมดงรัก แผ่นดินเขมรต่ำ  สามารถมองเห็นปราสาท เขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตรได้ ใต้ลงไปบริเวณ ผามออีแดง มีภาพสลักหินนูนตํ่ารูปคล้ายนางอัปสรา 3 องค์ เป็นศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นรูปสลักซึ่งเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

    ผามออีแดง เป็นผาหินสีแดงตั้งอยู่ปลายสุดทางหลวงหมายเลข 221 จะมีถนนและบันไดสู่ เขาพระวิหาร มีลักษณะเป็นลานหินธรรมชาติ ริมหน้าผาสูงติดกับพื้นที่ประเทศกัมพูชา เป็นจุดชมทัศนียภาพ เขาพระวิหาร ในระยะเพียง 1,000 เมตร ซึ่งมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก
    ในบริเวณอุทยานฯ มีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักแรมกันได้ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0 9522 4265, 0 1224 0779 หรือ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตู้ ปณ. 14 อ. กันทรลักษณ์ จ. ศรีสะเกษ 33110 โทรศัพท์ 0 4561 9214, 0 4561 9214 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2562 0760
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
    ตะกร้าเถาวัลย์ เป็นผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์ มีให้เลือกมากแบบ เช่น กระเช้าดอกไม้ ตะกร้าใส่ผลไม้ ผลงานจากชาวบ้านในชุมชนกุดหวาย เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
 
การเดินทาง
    จากศรีสะเกษใช้ทางหลวงหมายเลข 221(ศรีสะเกษ-กันทรลักษณ์) ผ่านตัวอำเภอกันทรลักษณ์ลงไปทางใต้ 36 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 98 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดียวกับทางขึ้น เขาพระวิหาร
ข้อมูลการติดต่อ
    สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โทรศัพท์ 0 4524 3770 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147
ขอขอบคุณที่มา :  http://www.traveleradvisor.net

ตำนานผีปอบ

ตำนาน "ผีปอบ" 

.................... "ผีปอบ" มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำจนแก่กล้า สามารถใช้อำนาจอันเข้ม ขลังจากเวทมนตร์คาถาไปกระทำร้ายหรือทำลาย ชีวิตผู้อื่นได้ เช่น ทำ เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝัง รอยเสกหนังควาย เสกตะปูเข้าท้อง หรือใช้มนตราบังคับวิญญาณ ภูตผีไปเข้าสิง วิชาไสย ศาสตร์เหล่านี้มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติกำกับอยู่ด้วย ผู้ที่มีวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ซึ่งพระ พุทธเจ้า ทรงระบุว่า เป็นเดียรฉาน วิชา จะต้องระวังไม่ให้ละเมิด ข้อห้าม ข้อปฏิบัติโดยเด็ดขาด หากกระ ทำผิด ข้อห้าม ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า "คะลำ" ก็จะเกิดโทษหนักในข้อ "ผิดครู" วิญญาณบรมครู จะลงโทษ ให้กลายเป็น ปอบ หรืออีกประการหนึ่งของผู้ที่ กลายเป็นปอบก็คือ เล่น คาถาอาคม อย่างคลั่งไคล้ และใช้ความขลังแห่งวิชา มนต์ดำไปทำลาย ทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่กลัว บาปกลัว กรรมกระทำชั่วเป็นอาจิณกรรม กระทั่งถูกอาถรรพณ์ของไสยเวทย์ย้อนกลับมาเข้าตัวเองกลาย เป็น ปอบไปในที่สุด
.................... "ผีปอบ" ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น
................... . "ปอบ ธรรมดา" หมายถึงคนที่มีปอบสิงอยู่ใน ร่าง (คือตนเองเป็นปอบ ) เมื่อคนประเภทนี้ตายไป ปอบที่สิงสู่อยู'ก็จะ ตายตามไปด้วย
.................... "ปอบเชื้อ" หมายถึงครอบครัวใดพ่อแม่เป็นปอบเมื่อพ่อแม่ตายไปลูก หลานก็จะสืบทอดให้ เป็นปอบต่อไป อีกประการหนึ่งเป็นกรรมพันธุ์ไม่ว่า จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรียกว่า เป็นปอบต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ
.................... "ปอบแลกหน้า" หมายถึง ปอบเจ้าเล่ห์ถนัดเอาความ ผิดไปโยนให้ผู้อื่น กล่าวคือเวลาไปเข้าสิงใคร เมื่อถูกสอบ ถามว่ามีผู้ใดเลี้ยงหรือบังคับ ปอบ จะไม่บอกความจริงหากไปกล่าวโทษว่าเป็นคนนั้นคนนี้โดยที่ผู้ถูกระบุชื่อ ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เลย
.................... ปอบกักกึก (กึก ภาษาอีสานแปลว่า "ใบ้") หมายถึงปอบที่ไม่ยอมพูดอะไรเวลามีคน ถาม จนกว่าญาติพี่น้องจะไปตามหมอผีมาขับไล่ จึงจะยอมเปิดปากพูดว่าตนเป็นปอบของ ใครมีใครใช้ให้มา เข้าสิง ผู้ที่ถูกผีปอบเข้าสิงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปอบเข้า" จะมีอาการแตกต่างกันไป บางคนแสดงกิริยาอาการ ดุร้ายบางคนจะนอนซมซึมคล้ายกับป่วยไข้อย่างหนัก บางคนจะ ร่ำไห้รำพันไปต่างๆ นานา แต่ไม่ว่าจะมีทีท่า อาการอย่างไร


....................ผู้ที่ถูกปอบเข้าสิงจะเรียกร้องให้ นำอาหารสุกๆ ดิบๆ พวกหมูตับไก่ต้มมากิน เหมือนๆ กับเวลา กินก็แสดงความตะกละมูม มามและกินได้จุผิดปกติเมื่อญาติพี่น้องรู้ว่าคนป่วยถูกปอบเข้าสิง เขาก็จะไปตามหมอ ผีให้มาไล่ปอบ การไล่ปอบให้ออกจากร่างมีหลายวิธีตามแนวทางที่หมอผีได้ร่ำเรียนมา บางคนจะเอาพริกแห้ง มาเผา ให้ควันรม คนป่วยจนสำลักควันน้ำตาไหลพาก ครั้นปอบ ออกจากร่าง แล้วหมอผีจะข่มขู่สอบถามว่าผีปอบเป็นใครมาจากไหน เมื่อปอบรับสารภาพ หมอผีก็ จะปล่อยไป คนป่วยได้สติหายเป็นปกตินัยน์ตาที่แดงก่ำเนื่องจากถูกควันพริกเผา รมจะหายไปทันที แต่เจ้าของ ปอบกลับมีอาการนัยน์ตาแดงก่ำด้วยสายเลือดจนต้องหลบ หน้าอยู่แต่ในห้องไม่กลัวให้ใครพบหน้า อีกวิธีหนึ่งที่ หมอผีทั่วไปนิยมใช้ไล่ผี คือใช้หวาย เฆี่ยนไล่ปอบซึ่งก็เท่ากับเฆี่ยนคนป่วยนั่นแหละหากปอบกล้าแข็งหมอผีจะ เฆี่ยนหนักๆ กระทั่งเนื้อตัวคนที่ถูกปอบเข้าสิงเขียวช้ำด้วยรอยหวาย เมื่อปอบยอมแพ้ออกจากร่างไป ร้อยหวายก็ จะจางหายไปทันที แต่วิธีไล่ผีปอบแบบนี้เคยเป็นเรื่องเป็นข่าวมาแล้ว
....................เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ถูกปอบเข้าสิง หากป่วยเป็นโรคประสาท ญาติคิดว่าปอบ เข้าจึงไปตามหมอผีมาไล่ หมอผีจัดการเฆี่ยนคนป่วยด้วยหวายได้รับบาดเจ็บบอบช้ำจน หลายครั้งหลายหน โดยคิดว่าปอบฮึดสู้ไม่ยอม แพ้ในที่สุดคนป่วยก็เสียชีวิตร้อนถึงตำรวจ ต้องมาจัดการกับหมอผีและญาติตามกฎหมายและหมอผีคงคิดคุก ติดตะรางไปตามระเบียบ
....................อีกวิธีหนึ่งหมอผีจะนำสัตว์น่าเกลียดน่ากลัวบางชนิดมาข่มขู่ให้ปอบกลัวเช่น คางคก ตุ๊กแก งู ในกรณีนี้ คนที่ ถูกปอบเข้าสิงมักจะเป็นผู้หญิงหรือตัวปอบเป็นหญิง แม้จะเป็นผีปอบ (เธอ) ก็ยังขยาดแขยงสัตว์ประเภทนี้ และ มักจะยอมออกจากร่างที่ เข้าสิงง่าย ๆ
....................ผีปอบที่แก่กล้าเวลาเข้าสิงใครจะอกยาก กล่าวกันว่าใครที่ผีปอบประเภทนี้ เข้าสิงมักจะถูกปอบสิงจนตาย เมื่อหมอผีดำเนินการไล่ผีปอบจากร่างที่ถูกปอบสิงมี ข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ จะปรากฏเป็นก้อนกลมอยู่ใต้ ผิวหนังปูดนูนขึ้นมา เวลา หมอผีจี้อ้อนกลมๆนี้ด้วยไพลเสก มันจะเลื่อนหนีได้ และเมื่อก้อนกลมๆนี้หายไปหมอ ผีที่มีวิชาอาคมยังไม่เก่งนักมักคิดว่าปอบออกไปแล้ว แต่ที่แท้จริงๆ ปอบมันจะเลื่อน หนีไปซ่อนตามซอกขาหนีบ หรืออวัยวะเพศ ทำให้หาไม่พบ
....................สำหรับหมอผีรุ่นครูจะจู่โจมเข้ามัดข้อมือ ข้อเท้าและรอบคอ ด้วยด้าย สายสิญจน์เพื่อไม่ให้ปอบหนีออกจาก ร่าง จากนั้นก็จะใช้ไพลเสกจี้ลงไปที่ก้อนกลมๆ ใต้ผิวหนัง เรียกว่าก้อนกลมนี้หนีไปที่ใดก็จะตามจี้ไม่ยอมปล่อย เวลาที่ถูกไพลเสกจี้ ทางอีสานเรียกว่า "แทง" ปอยจะเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส (คนที่ถูกปอบสิงจะร้องโอด ครวญดังลั่น) หมอผีจะขู่บังคับให้บอกว่าเป็นใคร ซึ่งปอบมักจะยอมสารภาพโดยดี หลังจากทรมานปอบให้หวาด กลัวเข็ดหลาบแล้ว หมอผีจึงจะแก้มัดด้วยด้ายสายสิญจน์ ปล่อยให้ปอบออกไป หมอผีบางรายมีวิธีไล่ปอบชนิดดุเดือด ให้คนเป็นปอบอับอายขายหน้าเป็นที่เปิดเผยแก่ สาธารณชนทั่วไป โดยหมอผีจะไปหาหม้อดินของแม่ม่ายที่มีเขม่าควันไฟจับหนามา แล้วเอาหม้อดินครอบศีรษะคนถูกปอบสิง ใช้มีดโกนขูดเขม่าควันไฟ คล้ายกับโกนผมให้ หมดไปครึ่งศีรษะ จากนั้นปล่อยให้ปอบออกจากร่าง วิธีการ ไล่ปอบแบบนี้จะทำให้ผู้เป็น ปอบหรือเลี้ยงปอบไว้ต้องหลบซ่อนอยู่แต่ในห้อง หรือเวลาออกนอกห้องไปไหน มาไหน ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะตลอดเวลา เนื่องจากเส้นผมแหว่งหายไปครึ่งศีรษะ



ตำนานผีปอบ 1

" ผีปอบ " มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำจนแก่กล้า สามารถใช้อำนาจอัน
เข้มขลังจากเวทมนตร์คาถาไปกระทำร้ายหรือทำลาย ชีวิตผู้อื่นได้ เช่น ทำ เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝังรอยเสกหนังควาย เสกตะปู
เข้าท้อง หรือใช้มนตราบังคับวิญญาณ ภูตผีไปเข้าสิง วิชาไสยศาสตร์เหล่านี้มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติกำกับอยู่ด้วย ผู้ที่มีวิชาอาคม
ทาง ไสยศาสตร์ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงระบุว่า เป็นเดียรฉานวิชา จะต้องระวังไม่ให้ละเมิดข้อห้าม ข้อปฏิบัติโดยเด็ดขาด
หากกระทำผิดข้อห้าม ชาวอีสานจะเรียกกันว่า "คะลำ" จะเกิดโทษหนักในข้อ"ผิดครู" วิญญาณ บรมครู จะลงโทษ ให้กลายเป็น
ปอบ หรืออีกประการหนึ่งของผู้ที่กลายเป็นปอบก็คือ เล่นคาถาอาคมอย่างคลั่งไคล้ และใช้ความขลังแห่งวิชา มนต์ดำไปทำลาย ทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่กลัว บาปกลัวกรรมกระทำชั่วเป็นอาจิณกรรม กระทั่งถูกอาถรรพณ์ของไสยเวทย์ย้อนกลับมาเข้าตัวเอง
กลายเป็นปอบไป ในที่สุด

"ผีปอบ" ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น "ปอบ ธรรมดา" หมายถึง คนที่มีปอบสิงอยู่ในร่าง
( คือตนเองเป็นปอบ ) เมื่อคนประเภทนี้ตายไป ปอบที่สิงสู่อยู่ก็จะตายตามไปด้วย
"ปอบเชื้อ" หมายถึง ครอบครัวใดพ่อแม่เป็นปอบเมื่อพ่อแม่ตายไปลูก หลานก็จะสืบทอดให้เป็นปอบ
ต่อไป อีกประการหนึ่งเป็นกรรมพันธุ์ไม่ว่า จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรียกว่าเป็นปอบต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ
"ปอบแลกหน้า" หมายถึง ปอบเจ้าเล่ห์ถนัดเอาความผิดไปโยนให้ผู้อื่น กล่าวคือ เวลาไปเข้า สิงใคร
เมื่อถูกสอบถามว่ามีผู้ใดเลี้ยงหรือบังคับ ปอบ จะไม่บอกความจริงหากไปกล่าวโทษว่าเป็นคนนั้นคนนี้ โดยที่ผู้ถูกระบุชื่อ ไม่รู้เรื่อง รู้ราวอะไรเลย ปอบกักกึก (กึก ภาษาอีสานแปลว่า "ใบ้") หมายถึง ปอบ
ที่ไม่ยอมพูดอะไรเวลามีคน ถาม จนกว่าญาติพี่น้องจะไปตามหมด ผีมาขับไล่ จึงจะยอมเปิดปากพูดว่าตนเป็นปอบของใครมีใครใช้ให้มา เข้าสิง

ตำนานผีปอบ 2



ผู้ที่ถูกผีปอบเข้าสิงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปอบเข้า" จะมีอาการแตกต่างกันไปบางคน
แสดงกิริยาอาการ ดุร้ายบางคนจะนอนซมซึมคล้ายกับป่วยไข้อย่างหนัก บางคนจะร่ำไห้รำพันไปต่างๆ
นานาแต่ไม่ว่าจะมีทีท่า อาการอย่างไร ผู้ที่ถูกปอบเข้าสิงจะเรียกร้องให้นำอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ พวกหมู
ตับ ไก่ต้มมากิน เหมือน ๆ กับเวลา กินก็แสดงความตะกละมูมมามและกินได้จุผิดปกติเมื่อญาติพี่น้อง
รู้ว่าคนป่วยถูกปอบเข้าสิง เขาก็จะไปตามหมอผีให้มาไล่ปอบ การไล่ปอบให้ออกจากร่างมีหลายวิธีตาม
แนวทางที่หมอผีได้ร่ำเรียนมาบางคนจะเอาพริกแห้งมาเผา ให้ควันรม คนป่วยจนสำลักควันน้ำตาไหลพราก

ครั้นปอบออกจากร่าง แล้วหมอผีจะข่มขู่สอบถามว่าผีปอบเป็นใครมาจากไหน เมื่อปอบรับสารภาพหมอผี
ก็ จะปล่อยไป คนป่วยได้สติหายเป็นปกตินัยน์ตาที่แดงก่ำเนื่องจากถูกควันพริกเผารม จะหายไปทันทีแต่เจ้าของปอบกลับมี
อาการนัยน์ตาแดงก่ำด้วย สายเลือดจนต้องหลบหน้าอยู่แต่ในห้องไม่กล้าให้ใครพบหน้า อีกวิธีหนึ่ง คือใช้หวายเฆี่ยนไล่ปอบ
ซึ่งก็เท่ากับเฆี่ยนคนป่วยนั่นแหละ หากปอบกล้าแข็งหมอผีจะเฆี่ยนหนักๆ กระทั่งเนื้อตัวคนที่ถูกปอบเข้าสิงเขียวช้ำด้วย
รอยหวาย เมื่อปอบยอมแพ้ออกจากร่างไปรอยหวายก็จะจางหายไปทันที แต่วิธีไล่ปอบแบบนี้เคยเป็นข่าวมาแล้ว

เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ถูกปอบเข้าสิง หากป่วยเป็นโรคประสาท ญาติคิดว่าปอบเข้าจึงไปตามหมอผีมาไล่ หมอผี
จัดการเฆี่ยนคนป่วย ด้วยหวายได้รับบาดเจ็บบอบช้ำจนหลายครั้งหลายหน โดยคิดว่าปอบฮึดสู้ไม่ยอม แพ้ในที่สุด คนป่วยก็
เสียชีวิต ร้อนถึงตำรวจต้องมาจัดการกับหมอผีและญาติตามกฎหมาย

อีกวิธีหนึ่ง หมอผีจะนำสัตว์น่าเกลียดน่ากลัวบางชนิดมาข่มขู่ให้ปอบกลัว เช่น คางคก ตุ๊กแก งู ในกรณีนี้ คนที่
ถูกปอบเข้าสิงมักเป็นผู้หญิงหรือตัวปอบเป็นหญิง แม้จะเป็นผีปอบ ( เธอ ) ก็ยังขยาดแขยงสัตว์ประเภทนี้และ มักจะยอมออก
จากร่างที่เข้าสิงง่าย ๆ

ตำนานผีปอบ 3

ผีปอบที่แก่กล้าเวลาเข้าสิงใครจะอดอยาก กล่าวกันว่าใครที่ผีปอบประเภทนี้เข้าสิงมักจะถูกปอบสิงจนตาย
เมื่อหมอผีดำเนินการไล่ผีปอบจากร่างที่ถูกปอบสิงมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ จะปรากฎเป็นก้อนกลมอยู่ใต้
ผิวหนังปูดนูนขึ้นมา เวลาหมอผีจี้ก้อนกลม ๆ นี้ด้วยไพลเสก มันจะเลื่อน

สำหรับหมอผีรุ่นครูจะจู่โจมเข้ามัดข้อมือ ข้อเท้าและรอบคอ ด้วยด้ายสายสิญจน์เพื่อไม่ให้ปอบหนีออกจากร่าง
จากนั้นก็จะใช้ไพลเสกจี้ลงไปที่ก้อนกลม ๆ ใต้ผิวหนัง เรียกว่าก้อนกลมนี้หนีไปที่ใดก็จะตามจี้ไม่ยอมปล่อย จากนั้นใช้ไพล
เสกจี้ทางอีสารเรียกว่า "แทง" ปอบจะเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส (คนที่ถูกปอบสิงจะร้องโอดครวญดังสนั่น)หมอผีจะขู่บังคับ
ให้บอกว่าเป็นใคร ซึ่งปอบมักจะยอมสารภาพโดยดี หลังจากทรมานปอบให้หวาดกลัวเข็ดหลาบแล้ว หมอผีจึงจะแก้มัดด้วย
ด้ายสายสิญจน์ปล่อยให้ปอบออกไป

หมอผีบางรายมีวิธีไล่ปอบชนิดดุเดือด ให้คนเป็นปอบอับอายขายหน้าเป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไป โดย
หมอผีจะไปหาหม้อดินของแม่ม่ายที่มีเขม่าควันไปจับหนามา แล้วเอาหม้อดินครอบศีรษะคนถูกปอบสิงใช้มีดโกนขูดเขม่าควัน
ไฟ คล้ายกับโกนผมให้หมดไปครึ่งศีรษะ จากนั้นปล่อยให้ปอบออกจากร่าง วิธีการไล่ปอบแบบนี้จะทำให้ผู้เป็นปอบหรือ
เลี้ยงผีปอบต้องหลบซ่อนอยู่ในห้อง หรือเวลาออกไปไหนก็ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะตลอดเวลา เนื่องจากเส้นผมแหว่งหาย
ไปครึ่งศีรษะ

ตำนานผีปอบ 4

เรื่องของปอบนี้จะลงความเห็นว่าเกิดจาก "ความเชื่อ" หรือความงมงายไร้สาระเอาเสียเลยก็
คงไม่ได้ เพราะเรื่องราวประหลาด ๆ เกี่ยวกับผีปอบยังเคยปรากฎกับพระอริยสงฆ์ เช่น หลวงปู่ดู่พรหม
ปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาแล้ว

กล่าวคือ มีหมอผีไสยเวท ชาวเวียงจันน์คนหนึ่งมาที่วัดสะแก มานมัสการหลวงปู่ดู่ บอกท่าน
ว่าตนมีวิชาดีเป็น วิชาบิดไส้ บิดฟัน ต้องการมอบวิชานี้ให้แก่ท่านเป็นการเฉพาะเพราะเห็นว่าไม่มีใคร
รับถ่ายทอดวิชาเหล่านี้ได้ แล้วก็มอบคัมภีร์โบราณให้ผูกหนึ่ง หลวงปู่ดูดเห็นว่าเป็นวิชาแปลก ก็รับไว้
โดยเสียค่าครูให้เป็นธรรมเนียม เมื่อได้คัมภีร์นั้นมาแล้ว หลวงปู่ก็ไม่ได้เปิดดูหรือให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ท่านนำไปวางไว้ที่โต๊ะหมู่บูชา และก็ลืม ๆ ไป ส่วนหมอผีไสยเวทชาวลาวยังไม่กลับไปทันที หากนอนพักค้างคืนที่วัดสะแก
ต่อ 2 - 3 วัน

คืนนั้น..... หลวงปู่ดู่เกิดฝันประหลาด ฝันว่าท่านออกไปหากินคล้าย ๆ กับเป็นปอบและไปกินควายชาวบ้าน
ซึ่งอยู่ในตำบลใกล้เคียง เช้าวันรุ่งขึ้นท่านก็ยังไม่ฉุกคิดอะไร กระทั่งล่วงเข้าคืนที่สอง ขณะที่หลวงปู่นอนหลับ ท่านก็ฝัน
ในลักษณะเดียวกันอีก คือ ออกไปกินไส้ควายของชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้ ๆ

เช้าวันรุ่งขึ้น ก็ได้มีชาวบ้านมาหาหลวงปู่ดู่ เล่าถวายต่อท่านว่า เมื่อคืนนี้ควายของเขาตาย กะทันหันโดยหา
สาเหตุไม่พบ อีกทั้งลักษณะการตาย มีสภาพน่ากลัวหลายอย่าง หลวงปู่สอบถามว่าตั้งบ้านเรือน อยู่อาศัยที่ใด
ชาวบ้านก็กราบเรียนให้ท่านทราบ คราวนี้ หลวงปู่ดู่ถึงกับสะดุ้ง เพราะที่อยู่ของชาวบ้านคนนั้นตรงกันกับบ้านที่ท่านฝัน
ว่าไปกินไส้ควายมานั่นเอง หลวงปู่ดู่คิดว่า "อ้ายลาวไสยเวทคนนี้เห็นทีจะเอาวิชาชั่วร้ายมามอบให้ท่านเป็น ถึงได้เกิดเหตุการณ์
ดังกล่าวขึ้น หากท่านเกิดฝันไปกินคนเข้า อาจทำให้ใครต่อใครตายได้และวิชาที่ท่านรับมาเห็นทีจะเป็นวิชาปอบ ดังนั้น
หลวงปู่ดู่จึงได้นำคัมภีร์ตำรา เอามาเผาไฟ

ลาวหมอผีรู้ว่าหลวงดู่เผาวิชาตำรามันทิ้ง มันก็แสดงท่าโกรธเคืองไม่ใช่น้อย ตอนจากวัดกลับถิ่นเดิมของมัน
มันไม่ยอมมาบอกกล่าวกราบลา แม้แต่คำเดียว และนับแต่นั้นก็ไม่หวนหลับมาที่วัดสะแก อีกเลย

ประเทศไทยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย


ดินแดนประเทศไทยก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 หรือดินแดนประเทศไทยก่อนสมัยประวัติศาสตร์นั้น นักโบราณคดีชาวตะวันตกและชาวไทย (ดอกเตอร์แวนฮิกเกอเรน นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี) ได้แบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยไว้ 4 สมัย คือ
สมัยหินเก่า (Paleolithic)
สมัยหินกลาง (Mesolithic)
สมัยหินใหม่ (Neolithic)
สมัยโลหะ (Metal)1

1. สมัยหินเก่าในประเทศไทยยุคหินเก่าคือยุคที่มีอายุระหว่าง 500,000 – 10,000 ปีล่วงมาแล้ว ร่องรอยของมนุษย์หินเก่าในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย ในปี พ.ศ.2475 ศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซง ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้ามาสำรวจหาร่องรอยสมัยหินเก่าที่จังหวัดเชียงราย ราชบุรี และลพบุรี ได้พบเครื่องมือหินกรวด 2-3 ชิ้น ศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซงได้ตั้งชื่อวัฒนธรรมเครื่องมือหินเก่าในประเทศไทยว่า ไซแอมเนี่ยน (Siamnian) แต่การค้นพบของศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซง ไม่เป็นที่สนใจและยอมรับในหมู่นักมนุษย์วิทยาและโบราณคดี ชื่อของวัฒนธรรมนี้จึงตกไป
วัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศไทยเพิ่งได้รับความสนใจอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการค้นพบของดอกเตอร์ แวนฮิกเกอเรน นักมนุษย์วิทยาชาวฮอลันดาซึ่งเป็นเชลยศึกของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ (กาญจนบุรี-มะละแหม่ง) ในระหว่างที่ถูกบังคับให้ทำงานดังกล่าวเข้าได้พบเครื่องมือหินจำนวนมาก เมื่อสงครามสงบลงเขาได้ส่งเครื่องมือหินเหล่านั้นไปตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ต ผลปรากฏว่าเป็นเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว 6 ก้อน และขวานหินขัดสมัยหินใหม่ 2 ก้อน เครื่องมือหินดังกล่าวขุดพบที่สถานีบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี2
การค้นพบของดอกเตอร์แวนฮิกเกอเรน เป็นหลักฐานยืนยันอีกครั้งว่ามีมนุษย์ที่ใช้เครื่องมือหินเก่าอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันและสันนิษฐานต่อไปว่ามนุษย์เหล่านั้นอาจจะเป็นเผ่าเดียวกันกับที่พบที่ชวาและปักกิ่ง ซึ่งมีอายุประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว ดินแดนประเทศไทยปัจจุบันอาจจะเป็นทางผ่านสำหรับติดต่อ หรืออาจจะเป็นที่อยู่ระหว่างอารยธรรมทั้งสอง3 นอกจากจะค้นพบร่องรอยของวัฒนธรรมยุคหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรี และยังพบเครื่องมือหินเก่าที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายด้วย
2. สมัยหินกลางในประเทศไทยสมัยหินกลางคือช่วงเวลาระหว่าง 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้ว นอกจากสำรวจและขุดค้นของนักโบราณคดีทั้งไทยและต่างประเทศ ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนประเทศไทยบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลพบุรี และราชบุรี เป็นบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัย 10,000 ปีถึง 7,000 ปีล่วงมาแล้ว หลักฐานที่พบมีทั้งโครงกระดูกมนุษย์ และโครงกระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหิน และเปลือกหอย สมัยหินกลาง คือนอกจากจะรู้จักทำเครื่องมือหินใช้แล้ว ยังรู้จักนำเอากระดูกสัตว์และเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องมือ ส่วนพวกเครื่องใช้บางประเภทมนุษย์สมัยกลางสามารถทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา จำพวกหม้อ จาน ชาม หม้อน้ำขึ้นใช้ เครื่องปั้นดินเผาที่มนุษย์สมัยหินกลางทำขึ้น มีลักษณะผิวเรียบมัน พบที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์4
3. สมัยหินใหม่ในประเทศไทยสมัยหินใหม่คือช่วงเวลาระหว่าง 5,000-2,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการสำรวจและขุดค้นของนักโบราณคดีที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และขอนแก่น ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่มีขนาดสูงประมาณ 150-167 ซม. ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ แยกออกเป็น 4 ประเภทคือ5
1) เครื่องมือที่ทำด้วยหิน ที่พบมากคือ ขวานหินขัด ที่ชาวบ้านเรียกว่า ขวานฟ้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายข้างหนึ่งมน ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งขัดไม้แหลมเรียบ แต่งให้คม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นขวานศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากฟ้าขณะที่ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า ขวานหินขัดนี้ขุดพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย อายุของขวานหินขัดนี้ประมาณ 4,000 ปี
2) เครื่องมือที่ทำด้วยกระดูก เช่น ปลายหอก ลูกศร เป็นต้น
3) เครื่องมือที่ทำด้วยหอย เช่น พวกใบมีด
4) เครื่องมือที่ทำด้วยดินเผา ทำเป็นเครื่องใช้รูปต่าง ๆ เช่น หม้อ จาน แกนปั่นด้าย กระสุนดินเผา เป็นต้น

จากหลักฐานที่พบ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ที่อยู่ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันคงมีจำนวนมาก และตั้งหลักแหล่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย บางกลุ่มยังอาศัยอยู่ในถ้ำบางกลุ่มออกมาจากถ้ำมาสร้างบ้านพักหรือกระท่อม ในด้านวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ มนุษย์สมัยนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้น มีความรักสวยรักงาม รู้จักทำเครื่องประดับร่างกายจากเปลือกหอย ลูกปัด ทำกำไลหิน กำไลกระดูก มีการฝังศพผู้ตายในท่านอนหงายแขนแนบลำตัว วางเครื่องปั้นดินเผาไว้เหนือศีรษะ ปลายเท้าและบริเวณเข่า นอกจากนั้นยังใส่สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องประดับในหลุมฝังศพด้วย
4. สมัยโลหะในประเทศไทยยุคโลหะนี้ในบางช่วงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ยุคสำริด และยุคเหล็ก แต่การศึกษาที่ได้ทำกันหลายแห่งในประเทศไทย ยังไม่อาจจำแนกเป็น 2 ยุคดังกล่าวได้ชัดเจน กล่าวคือ
นักโบราณคดีได้พบร่องรอยของมนุษย์ยุคโลหะตอนต้นในประเทศไทย จากการขุดค้นที่ตำบลโนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น นักโบราณคดีพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือที่ทำด้วยสำริดทั้งนั้น ไม่มีเครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก แต่มีขวานที่ทำด้วยทองแดงที่เกิดจากธรรมชาติ (ไม่ใช่ทองแดงถลุง) เอามาทุบเป็นรูปขวานโดยไม่ใช้ความร้อน นอกจากนั้นคณะสำรวจและขุดค้นยังพบแม่พิมพ์หินสำหรับหล่อขวานสำริดอายุประมาณ 4,120-4,475 ปีมาแล้ว เก่ากว่ายุคสำริดที่พบที่ดองซอนประเทศเวียดนามและเก่ากว่ายุคสำริดของจีนเล็กน้อยแหล่งที่พบเครื่องมือสำริดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ที่ตำบลเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่นี่นักโบราณคดีได้พบทั้งเครื่องมือสำริด เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริด เครื่องปั้นดินเผารูปแปลก ๆ และมีลายเขียนด้วยสีแดงเป็นลายต่าง ๆ ประมาณ 1,000 แบบ และเครื่องประดับทำด้วยแก้วสีเขียว
การขุดค้นที่บ้านเชียงทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ ถ้าพิจารณาเครื่องมือเครื่องใช้แล้วควรจะตัดสินว่าเป็นของมนุษย์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งควรจะมีอายุประมาณ 2,100 ปีมาแล้ว แต่เมื่อได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาไปพิสูจน์อายุ โดยวิธีเทอโมลูเนสเซ็นส์ (Thermoluminescence) แล้วปรากฏผลว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดได้จากระดับความลึก 70-80 เซนติเมตรจากผิวดิน มีอายุประมาณ 5,554-460 ปีมาแล้ว ชิ้นส่วนที่ได้จากระดับความลึก 120 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 5,574-175 ปีมาแล้ว นักโบราณคดีบางท่าน6 จึงสรุปว่ามนุษย์ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้นได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เมื่อประมาณ 5,000-7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนั้น นอกจากจะรู้จักการสร้างเครื่องมือ เครื่องประดับสำริด และอื่น ๆ ยังรู้จักทำผ้าไหมและเครื่องนุ่งห่มอีกด้วย ศาตราจารย์สุด แสงวิเชียร ได้สรุปวิวัฒนาการของวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไว้ว่า ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยหินเก่า คือเมื่อประมาณ 500,000 ปีมาแล้ว อาจจะอยู่ตามตำบลที่พบเครื่องมือ คือบริเวณแควน้อยใหญ่และตามเชิงดอยของจังหวัดกาญจนบุรี และเชียงราย แต่ยังไม่พบโครงกระดูกที่จะช่วยในการสันนิษฐานว่าเป็นมนุษย์ใด สมัยหินกลางพบร่องรอยของมนุษย์อาศัยอยู่ตามเพิงผา เช่น ที่เพิงผาหน้าถ้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอนพบโครงกระดูกซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นมนุษย์เผ่าโปรโตมาเลย์
สมัยหินใหม่มีมนุษย์อาศัยอยู่เกือบทั่วประเทศไทยปัจจุบัน บริเวณที่อยู่กันหนาแน่นคือ แควน้อยแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมสูงสามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้ปราณีตเท่าเทียมเครื่องปั้นดินเผาที่พบในประเทศจีน ที่เรียกว่า “วัฒนธรรมโปรโตลุงซาน” และ “วัฒนธรรมลุงซาน” อยู่ทางตอนกลางของประเทศจีน จึงเป็นหลักบานยืนยันว่าได้มีมนุษย์ที่มีวัฒนธรรม ร่วมกันอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนกลางของประเทศจีนจนถึงแถบตะวันตกของดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากโครงกระดูกที่พบมีลักษณะไม่แตกต่างจากโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน นักโบราณคดีบางท่านจึงเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของไทยปัจจุบัน
สมัยโลหะของประเทศไทยยังมีปัญหาอยู่มาก เพราะมนุษย์ยุคโลหะที่พบทางตะวันตกของประเทศไทยปัจจุบันมีอายุเปรียบเทียบประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมนุษย์ยุคโลหะมีอายุประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ทำให้เกิดปัญหาว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณทั้งสองที่กล่าวนี้เป็นชนละเผ่ากันหรือเป็นเผ่าเดียวกัน แต่มีความจริงทางวัฒนธรรมต่าง กับพวกที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีวัฒนธรรมล้ำหน้า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณตะวันตกของประเทศไทย และล้ำหน้ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอยู่ 3 อย่าง คือ
1) การหล่อสำริดเป็นเครื่องมือและเครื่องประดับ
2) การเขียนลายสีบนภาชนะดินเผา
3) รู้จักใช้ไหมมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มก่อนแหล่งอื่น

ดังนั้นประเทศไทยจึงมิใช่แหล่งที่เพียงแต่รับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นเท่านั้น แต่เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วย

เพลงอาเซียน










 The ASEAN Way

Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.

We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN


 คำแปล

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน


 เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล




มัมมี่

มัมมี่ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีคือมัมมี่อียิปต์โบราณ แต่ในรูปเป็นมัมมี่ที่เกิดจากสภาพอากาศอันร้อนและแห้งแล้งค่ะ เป็นมัมมี่ที่อยู่ในยุคสมัยก่อนที่มีการปกครอง
โดยฟาโรห์ค่ะ ซึ่งในสมัยนั้นชาวอียิปต์ยังไม่รู้จักวิธีการทำมัมมี่ค่ะ สุสานของเขาเป็นแบบเรียบง่ายค่ะ โดยขุดหลุมให้ลึกลงไป แล้วนำเอาศพมาวาง นำเอาสมบัติของผู้ตาย
เช่นลูกปัด โถใส่อาหาร วางไว้รอบๆร่างของผู้ตาย ศพนั้นไม่ได้มีการนำเสื้อผ้ามาใส่ให้ค่ะ และไม่มีการนำทรายมากลบร่างผู้ตายด้วย
ต่อมาเป็นยุคที่อียิปต์รู้จักวิธีการทำมัมมี่แล้วค่ะ แต่ขอไม่บรรยาย ถึงวิธีใน การทำมัมมี่เพราะในเว็บนี้ได้มีผู้เขียนไว้แล้วแต่จำ ไม่ได้ว่าอยู่ในกระทู้ไหนและท่านใดเป็นเป็นผู้เขียน(พิมพ์) (ในรูปคือมัมมี่ของเซติที่1พระองค์เก่งกาจทางด้านการรบเป็นอย่างมากและ พระองค์ก็ยังส่งเสริมและให้มีการพัฒนาทางด้านศิลปะ จนถือว่า เป็นยุคที่ศิลปะมีความงดงามสูงสุดอีกยุคหนึ่งด้วย)
มัมมี่ฟาโรห์เซติที่2ค่ะ
รูปมัมมี่ของ(TUTMOSIS ที่1)ถ้าใช่นะค่ะเพราะยังเป็นมัมมี่ที่นักโบราณคดีถกเถียงกันอยู่เนื่อง จากพระศพมือไปวางอยู่ในท่าของสามัญชน(แขนสองข้างแนบลำตัว)
และผลของการเอ็กซเรย์มัมมี่นี้ก็ตายตอนอายุ 20 ปี ซึ่งไม่ตรงกับประวัติการรบที่โชกโชนของพระองค
TUTMOSIS ที่ 3 พระองค์เชี่ยวชาญทางด้านการรบเป็นอย่างมากจนได้รับฉายาว่า "นโปเลียนแห่งอียิปต์"เป็นมัมมี่รายแรกที่ได้ปรากฎโฉมต่อหน้าสาธารณะชน
TUTMOSIS ที่ 4 คู่แก่งแย่งบัลลังค์ของฮัทเซพซุท
รามเสสที่ 1
รามเสสที่2 ถือว่าเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์
รามเสสที่ 3 เป็นมัมมี่ฟาโรห์พระองค์แรกที่มีการทำตาปลอม และเปลี่ยนท่านอนโดยเอามือสองข้างวางไขว้ไว้ที่หน้าอกและแบมือออก ถือเป็นฟาโรห์ผู้ทรงอำนาจของอียิปต์องค์สุดท้าย
รามเสสที่ 4
TIYIเสด็จย่าของฟาโรห์ตุตันคามุน
ฟาโรห์ตุตันคามุน
ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ 17 ฟาโรห์เซเคเนนเร สิ้นพระชนม์จากการออกรบ
อเมนโฮเทปที่ 2 เป็นฟาโรห์ที่โชคดีเพียงพระองค์ที่ไม่ต้องคอยถูกย้ายพระศพหนีจากพวกโจรขโมยสุสาน
TUTMOSISที่2 เป็นหนึ่งในกษัตริย์นักรบผู้เก่งกล้าของอียิปต์แต่ถูกกลบรัศมีจากราชินีของพระองค์เองคือราชินีฮัทเซพซุท
มัมมี่ฟาโรห์รามเสสที่ 6 พระศพถูกขวานจามเสียหายด้วยน้ำมือโจรปล้นสุสาน
พิเนดเจมที่1
ราชินีเฮเนทโทวีย์ พระชายาของฟาโรห์พิเนดเจมที่ 1 ในยุคนี้ถือว่าศิลปะในการมัมมี่มีการพัฒนาถึงขีดสุดค่ะ มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากการทำมัมมี่แบบเดิม โดยมีการใส่สารผสมของไขมันและโซดาเพื่อสร้างความมีน้ำมีนวลให้แก่ผิวหนัง และมีการยัดเศษผ้าเข้าไปเพื่อให้ผิวหนังเต่งตึง
ฟาโรห์ซิพทาห์ การทำมัมมี่ในยุคของพระองค์ก็มีการพัฒนาการเป็นอย่างมากเช่นกันค่ะ เพราะส่วนแก้มของฟาโรห์องค์นี้มีการยัดผ้าลินินลงไปเพื่อให้แก้มเต่งตึง
และเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่มีรอยเย็บแผลที่เรียบร้อย แผลถูกปิดสนิทค่ะ ตอนมีชีวิตพระองค์ป่วยเป็นโรคโปลิโอและทรงทุกข์ทรมานด้วยโรคนี้จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพค่ะ