วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

สามพันโบก

แกรนด์แคนย่อยเมืองสยาม คือแก่งหินงามสามพันโบก


             
   นายเรืองประทิน  เขียวสด  ครูโรงเรียนบ้านสองคอน  ซึ่งเป็นในผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าว  ระบุว่า  สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา  ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่  สูงประมาณ  3-7  เมตร  กว้างประมาณ  20  เมตร  
                แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ณ เส้นรุ้งที่ N.15 องศา 47.472 ลิปดา และเส้นแวงที่ E.105 องศา  23.983 ลิปดา ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม 
                จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน  ทราย  และเศษไม้  กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง  มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย   จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า  สามพันโบก 
                แก่งสามพันโบก  เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี
เปิดตำนานสามพันโบก
                จากประติมากรรมหินทรายที่มีรูปร่างดงามแปลกตา ก่อเกิดตำนานเรื่องเล่าตำนานพญานาคชุดแม่น้ำโขง  ทุ่งหินเหลื่อม  หินหัวสุนัข  และปู่จกปู
                ตำนานหินหัวสุนัข   ทางเข้าของแกรนด์แคนยอนแม่น้ำโขง  มีหินสวยงามลักษณะคล้ายหัวสุนัข  ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันต่างๆ นานา  บ้างก็ว่า แต่ก่อนมีเจ้าเมืองเป็นผู้เรืองอำนาจประทับใจความงามของสามพันโบก  จึงได้ส่งเสนามาศึกษาเพิ่มเติม  เมื่อมาแล้วพบขุมทรัพย์เป็นทองคำ  จึงให้สุนัข เฝ้าทางเข้าจนกว่าเจ้าเมืองจะออกมา  เมื่อเจ้าเมืองได้เห็นสมบัติเกิดความโลภ  กลัวเสนาจะได้ส่วนแบ่งจึงได้ออกไปทางอื่น  สุนัขผู้ภักดีก็เฝ้ารออยู่ตรงนั้นจนตายในที่สุด  บางตำนานก็ว่าลูกพญานาคในลำน้ำโขงเป็นผู้ขุดเพื่อให้เกิดลำน้ำอีกสายหนึ่งและได้มอบหมายให้สุนัขเป็นผู้เฝ้าทางระหว่างการขุดจนกระทั่งสุนัขได้ตายลงกลายเป็นหินรูปสุนัขในที่สุด
                ตำนานหาดหินสี  หรือทุ่งหินเหลื่อม  ทุ่งหินเหลื่อมอยู่ในพื้นที่บ้านคำจ้าว  ตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  เป็นกลุ่มหินสีที่มีลักษณะแปลกตา  คือหินแต่ละก้อน  จะมีผิวเรียบเป็นมันประกอบด้วยสีเหลือง เขียว ม่วง น้ำเงิน  มีขนาดตั้งแต่ก้อนเล็กเท่ากำปั้นและก้อนใหญ่สุดมีขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร  กระจายเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่  หินแต่ละก้อนถ้านำมาเรียงต่อกันจะเชื่อมกันได้สนิทคล้ายจิ๊กซอว์หินสี  จากตำนานชาวบ้านที่เล่าขานต่อกันว่ากลุ่มหินสีดังกล่าวคือทองคำพญานาค  ซึ่งเกิดจากการขุดสร้างแม่น้ำโขงของพญานาคตัวพ่อและตัวแม่  ส่วนร่องน้ำเล็กที่คู่ขนานกับแม่น้ำโขงเป็นผลงานของลูกพญานาคที่ขุดเล่น  จนเกือบทะลุกับแม่น้ำโขง  ลูกพญานาคพบหินเหมือนทองคำ  จึงขุดขึ้นกองไว้เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2 ไร่
                ทุ่งหินเหลื่อม  ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาศึกษาอย่างเป็นทางการ  จึงมีคำถามที่รอคำตอบมากมาย  ว่าหินกลุ่มนี้มากจากไหน หรือเกิดขึ้นอย่างไร  และคำตอบจากนักท่องเที่ยวทุกคนคือ  ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั่นเอง
                ตำนานปู่จกปู  หลุมโบกที่เกิดขึ้นมากมาย  ก่อเกิดเรื่องเล่า  ปู่พาหลานมาจับปาบริเวณถ้างต้อน  (ต้อนเป็นเครื่องมือดักปลาของคนอีสาน)  บังเอิญไม่สามารถจับปลาได้จึงใช้มือล้วงปูหินริมน้ำโขงจนเกิดโบกจำนวนมาก
                สามพันโบกในอดีต   เป็นแหล่งที่ชาวบ้านมาจับปลาในหน้าแล้งตามหลุมแอ่ง  โบก และสระบุ่ง  เนื่องจากลุ่มแอ่งจำนวนมากมายเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวนมากที่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงใช้สำหรับการดำรงชีพ
                สามพันโบกเริ่มเป็นที่รู้จัก  และปรากฏสู่สายตานักท่องเที่ยว  เมื่อนายเรืองประทิน  เขียวสด   ครูโรงเรียนบ้านสองคอน  ผู้บุกเบิกได้พบความงามของสามพันโบก  จึงได้ชวน  นายสมชาติ  เบญจถาวรอนันท์  เว็บมาสเตอร์ไกด์อุบลดอทคอม  นายชาย  บุดดีวัน  ผู้ใหญ่บ้านโป่งเป้าและ อบต.เหล่างาม  จัดกิจกรรม  แคมปิ้ง  เพื่อการประชาสัมพันธ์  ผ่านสื่อเว็บไซต์  ชุดกิจกรรมนอนกลางโขงชมทะเลดาว  เมื่อเดือน 15-16 ธันวาคม 2549  ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนชอบท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สำนักงานอุบลราชธานี  เขต 2 (ปัจจุบันเป็น ททท.สำนักงานอุบลราชธานี)  ได้นำแหล่งท่องเที่ยวนี้  เข้าในกิจกรรมท่องเที่ยวแม่น้ำโขงรับตะวันใหม่ก่อนใครในสยามมาตลอด
                สามพันโบกได้รับความสนใจอย่างมากเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุด เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก  เริ่มออกฉายภาพ  สถานที่ท่องเที่ยวซึงเป็นฉากจบของโฆษณาชุดนี้จึงกลายเป็นคำถามว่า  ที่ไหนกัน  เมืองไทยมีที่แห่งนี้ด้วยหรือ นับตั้งแต่นั้นมา  แก่งสามพันโบก  จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่  ที่กำลังเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวติดอันดับประดับประเทศ
การเที่ยวสามพันโบก 
                การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  ทำได้ 2 ทางคือ
1. เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ   ไปยังแก่งสามพันโบก  นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง  ต.สองคอน  ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระกว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง  หาดสลึง หินหัวพะเนียง  เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น  จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก  ศิลาเลข  หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือ
                ปากบ้อง  เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่  ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย  ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน -  มิถุนายน  ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย  ยาวกว่า 700 กิโลเมตร  เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด  “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก  ลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
                หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

หาดสลึง

จุดชมวิวหาดสลึง
                แก่งสองคอน   เกิดจากการเกาะหินหัวพะเนียงกลางลำน้ำโขงซึ่งเป็นเกาะหินขนาดใหญ่รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง  ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสายหรือสองคอน (ในภาษาถิ่นคอนแปลว่าแก่ง) จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
                หาดสลึง  เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล  ตั้งอยู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร  ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ – ตระการพืชผล – โพธิ์ไทร)  ในฤดูแล้ง  ประมาณมกราคม – มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง  จะมีหาดทรายที่สวยงาม  เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง  จากตำนานเชื่อกันว่า  ชื่อหาดสลึง  เกิดจากการที่คนมาเล่นน้ำช่วงสงกรานต์นานมาแล้ว  ในสมัยที่ใช้เหรียญสลึง 1 สลึงสมัยนั้น  มีค่าสามารถซื้อควายได้ 1 ตัว  ตามนิสัยของคนไทยบางคนเมื่อมารวมกันมาก  มักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ  ผู้ที่มาเล่นน้ำที่หาดแห่งนี้ได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยมีเดิมพันว่า  ณ  กลางเดือนเมษายน เวลาเที่ยงวันถ้าใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดได้ตลอดแนว (ยาว 860 เมตร) โดยไม่แวะพักระหว่างวิ่ง  จะได้รับเงินเดิมพัน 1 สลึง  นับตั้งแต่มีการเดิมพันมาไม่เคยมีใครได้รับรางวัลนี้เลย  ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า “หาดสลึง”

เครื่องมือจับปลาแบบเดียวกับภาพเขียนสีผาแต้ม

การตักปลา
                การตักปลาที่บ้านสองคอน  ชาวบ้านสองคอนยังมีงานประเพณีที่น่าสนใจ  คือประเพณี ตักปลาในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวและคนต่างถิ่นตั้งใจมาดูเป็นพิเศษ  คือการ “ตักปลา” หน้าปากบ้อง  เพราะเป็นการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่นๆ  ไม่ต้องใช้เหยื่อตกเบ็ดหรือทอดแห  แต่ใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคล้ายสวิงจับแมลงขนาดใหญ่คอยตักปลาที่วายจากเวินน้ำกว้างจะแหวกว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่ได้ร่วมกันจัดงาน  “เทศกาลตักปลา”  ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์  ของทุกปี  มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก  การท่องเที่ยวทางน้ำในช่วงเวลานี้นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวเพื่อชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตพื้นบ้าน ชมการประมงแบบดั้งเดิมที่น่าสนใจ  ณ  ตำบลสองคอนและตำบลเหล่างาม  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี

หินพัวพะเนียง

จุดชมวิวบนหินหัวพะเนียง
                หินหัวพะเนียง   อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือ  มีแก่งใหญ่ขวางกลางลำน้ำโขง  ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน  และในบริเวณใกล้เคียงยังมีถ้ำที่มีความสวยงามในลำน้ำโขงประกอบด้วย  ถ้ำนางต่ำหูกหาดหินสี, แก่งสองคอน, ภูเขาหิน  และหาดแห่
                ผาหินศิลาเลข   ร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจ ในแถบอินโดจีน  ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่าง หลี่ผี  เวียงจันทน์อยู่ก่อนถึงหาดหงส์  ที่ฝรั่งเศสแกะสลักตัวเลขที่หน้าผาหิน  สำหรับบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง  เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ  เนื่องจากหน้าที่น้ำหลากบริเวณนี้จะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก
                หาดหงส์  เนินทรายแม่น้ำโขงขนาดมหึมาเกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกันจนลักษณะพื้นที่เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่  มีลักษณะคล้ายกับทะเลทรายที่กว้างใหญ่  ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวหาดหงส์จะเป็นช่วงเวลาในยามบ่ายแก่ๆ  ช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า  ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมาก  เพราะแสงทองของดวงอาทิตย์จะกระทบกับทรายสีขาวระยิบระยับสวยงามยิ่งนัก
2. ขับรถเที่ยว  คือ หากต้องการไปชมสามพันโบกอย่างเดียวก็สามารถขับรถไปที่นั่นเพื่อชมความงามได้เลย  เพราะที่สามพันโบกรถสามารถเข้าไปจอดที่นั่นได้เลย
          สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล  และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ  ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็ก  ใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000  แอ่ง หรือ  3 พันโบก  โบก หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง  และคำว่า “โบก” เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก  กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติ   แหล่งใหญ่ที่สุด  รักษาระบบนิเวศน์และการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยุ่ได้อย่างสมดุล
          สำหรับในช่วงหน้าแล้ง  สามพันโบก  จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง  ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ  บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ  บางแอ่งขนาดเล็ก  มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่น  รูปดาว  วงรี  และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพุดเดิ้ล  มีความสวยงาม
ชมภาพถ่ายจากกระทู้เรื่องสามพันโบก

วัดล้านขวด






วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด)

สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1984 หรือ พ.ศ.2527 ตั้งอยู่ในตัวอำเภอขุนหาญ การเดินทางจากศรีสะเกษไปอำเภอขุนหาญสามารถใช้เส้นทาง หมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุนหาญระยะทางประมาณ 70 กม. สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค นับเป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้วซึ่งมีความวิจิตรงดงามมาก
ที่วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว หรือที่ชาวบ้านในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษรู้จักกันดีในชื่อวัดล้านขวดที่เขาเรียก กันแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า สถานที่ต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแต่ถูกประดับประดาไป ด้วยขวด
ใช้ขวดทั้งหมด 1,500,000 ขวด

เริ่มตั้งแต่ทางเข้าวัดทั้งกำแพงซุ้ม ประตูโบสถ์ ศาลา หอระฆัง กุฏิ หรือแม้แต่ห้องน้ำ ก็ยังถูกตบแต่งด้วยขวดเช่นกัน

นอก จากความงดงามแปลกตาของขวดที่สลับสี และการวางลวดลายแล้ว เรา ยังทึ่งกลับความคิดในการนำฝาขวดมาปะติด จนได้เป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่เหมือนที่ ใดอีกด้วย




สิ่งเหล่านี้เกิด จากความคิดของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่หลอด ท่านบอกว่า การนำขวดมาตกแต่งนั้น นอกจากจะประหยัดในเรื่องของการทาสีแล้ว ที่สำคัญขวดแก้วนั้น ยังแฝงไปด้วยคติคือ ความใสของแก้ว เมื่อกระทบแสงแดดแล้ว ทำให้เกิดแสงสว่างเหมือนแสงธรรมที่ควรบรรลุถึง สำหรับขวดไม่ว่าจะคว่ำลง หงายขึ้น หรือวางในแนวนอน ก็ล้วนแต่มีคติสอนใจทั้งนั้น


ที่วัดล้านขวดแห่งนี้นับเป็นอีกหนึ่ง งาน สร้างที่มีเพียงแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ หากใครได้มีโอกาสผ่านมาจังหวัดศรีสะเกษแล้วละก็อย่าลืม
แวะชมความงดงามที่ไม่เหมือนใครของวัดนี้กันนะ

ผามออีแดง


                                                          ภาพโดย  :  www.traveleradvisor.net

รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
    อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ ประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีพื้นที่ตามแนวชายแดนตั้งแต่อำเภอน้ำยืนถึงอำเภอกันทรลักษณ์ เนื้อที่ราว 8 หมื่นไร่ บริเวณชายแดนไทยมีจุดชมทัศนียภาพทิวเขาพนมดงรัก แผ่นดินเขมรต่ำ  สามารถมองเห็นปราสาท เขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตรได้ ใต้ลงไปบริเวณ ผามออีแดง มีภาพสลักหินนูนตํ่ารูปคล้ายนางอัปสรา 3 องค์ เป็นศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นรูปสลักซึ่งเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

    ผามออีแดง เป็นผาหินสีแดงตั้งอยู่ปลายสุดทางหลวงหมายเลข 221 จะมีถนนและบันไดสู่ เขาพระวิหาร มีลักษณะเป็นลานหินธรรมชาติ ริมหน้าผาสูงติดกับพื้นที่ประเทศกัมพูชา เป็นจุดชมทัศนียภาพ เขาพระวิหาร ในระยะเพียง 1,000 เมตร ซึ่งมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก
    ในบริเวณอุทยานฯ มีที่พักให้นักท่องเที่ยวได้พักแรมกันได้ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดที่พักและสถานที่กางเต็นท์ได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0 9522 4265, 0 1224 0779 หรือ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตู้ ปณ. 14 อ. กันทรลักษณ์ จ. ศรีสะเกษ 33110 โทรศัพท์ 0 4561 9214, 0 4561 9214 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2562 0760
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
    ตะกร้าเถาวัลย์ เป็นผลิตภัณฑ์จากเถาวัลย์ มีให้เลือกมากแบบ เช่น กระเช้าดอกไม้ ตะกร้าใส่ผลไม้ ผลงานจากชาวบ้านในชุมชนกุดหวาย เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
 
การเดินทาง
    จากศรีสะเกษใช้ทางหลวงหมายเลข 221(ศรีสะเกษ-กันทรลักษณ์) ผ่านตัวอำเภอกันทรลักษณ์ลงไปทางใต้ 36 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 98 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดียวกับทางขึ้น เขาพระวิหาร
ข้อมูลการติดต่อ
    สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 โทรศัพท์ 0 4524 3770 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147
ขอขอบคุณที่มา :  http://www.traveleradvisor.net

ตำนานผีปอบ

ตำนาน "ผีปอบ" 

.................... "ผีปอบ" มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำจนแก่กล้า สามารถใช้อำนาจอันเข้ม ขลังจากเวทมนตร์คาถาไปกระทำร้ายหรือทำลาย ชีวิตผู้อื่นได้ เช่น ทำ เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝัง รอยเสกหนังควาย เสกตะปูเข้าท้อง หรือใช้มนตราบังคับวิญญาณ ภูตผีไปเข้าสิง วิชาไสย ศาสตร์เหล่านี้มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติกำกับอยู่ด้วย ผู้ที่มีวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ซึ่งพระ พุทธเจ้า ทรงระบุว่า เป็นเดียรฉาน วิชา จะต้องระวังไม่ให้ละเมิด ข้อห้าม ข้อปฏิบัติโดยเด็ดขาด หากกระ ทำผิด ข้อห้าม ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า "คะลำ" ก็จะเกิดโทษหนักในข้อ "ผิดครู" วิญญาณบรมครู จะลงโทษ ให้กลายเป็น ปอบ หรืออีกประการหนึ่งของผู้ที่ กลายเป็นปอบก็คือ เล่น คาถาอาคม อย่างคลั่งไคล้ และใช้ความขลังแห่งวิชา มนต์ดำไปทำลาย ทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่กลัว บาปกลัว กรรมกระทำชั่วเป็นอาจิณกรรม กระทั่งถูกอาถรรพณ์ของไสยเวทย์ย้อนกลับมาเข้าตัวเองกลาย เป็น ปอบไปในที่สุด
.................... "ผีปอบ" ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น
................... . "ปอบ ธรรมดา" หมายถึงคนที่มีปอบสิงอยู่ใน ร่าง (คือตนเองเป็นปอบ ) เมื่อคนประเภทนี้ตายไป ปอบที่สิงสู่อยู'ก็จะ ตายตามไปด้วย
.................... "ปอบเชื้อ" หมายถึงครอบครัวใดพ่อแม่เป็นปอบเมื่อพ่อแม่ตายไปลูก หลานก็จะสืบทอดให้ เป็นปอบต่อไป อีกประการหนึ่งเป็นกรรมพันธุ์ไม่ว่า จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรียกว่า เป็นปอบต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ
.................... "ปอบแลกหน้า" หมายถึง ปอบเจ้าเล่ห์ถนัดเอาความ ผิดไปโยนให้ผู้อื่น กล่าวคือเวลาไปเข้าสิงใคร เมื่อถูกสอบ ถามว่ามีผู้ใดเลี้ยงหรือบังคับ ปอบ จะไม่บอกความจริงหากไปกล่าวโทษว่าเป็นคนนั้นคนนี้โดยที่ผู้ถูกระบุชื่อ ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เลย
.................... ปอบกักกึก (กึก ภาษาอีสานแปลว่า "ใบ้") หมายถึงปอบที่ไม่ยอมพูดอะไรเวลามีคน ถาม จนกว่าญาติพี่น้องจะไปตามหมอผีมาขับไล่ จึงจะยอมเปิดปากพูดว่าตนเป็นปอบของ ใครมีใครใช้ให้มา เข้าสิง ผู้ที่ถูกผีปอบเข้าสิงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปอบเข้า" จะมีอาการแตกต่างกันไป บางคนแสดงกิริยาอาการ ดุร้ายบางคนจะนอนซมซึมคล้ายกับป่วยไข้อย่างหนัก บางคนจะ ร่ำไห้รำพันไปต่างๆ นานา แต่ไม่ว่าจะมีทีท่า อาการอย่างไร


....................ผู้ที่ถูกปอบเข้าสิงจะเรียกร้องให้ นำอาหารสุกๆ ดิบๆ พวกหมูตับไก่ต้มมากิน เหมือนๆ กับเวลา กินก็แสดงความตะกละมูม มามและกินได้จุผิดปกติเมื่อญาติพี่น้องรู้ว่าคนป่วยถูกปอบเข้าสิง เขาก็จะไปตามหมอ ผีให้มาไล่ปอบ การไล่ปอบให้ออกจากร่างมีหลายวิธีตามแนวทางที่หมอผีได้ร่ำเรียนมา บางคนจะเอาพริกแห้ง มาเผา ให้ควันรม คนป่วยจนสำลักควันน้ำตาไหลพาก ครั้นปอบ ออกจากร่าง แล้วหมอผีจะข่มขู่สอบถามว่าผีปอบเป็นใครมาจากไหน เมื่อปอบรับสารภาพ หมอผีก็ จะปล่อยไป คนป่วยได้สติหายเป็นปกตินัยน์ตาที่แดงก่ำเนื่องจากถูกควันพริกเผา รมจะหายไปทันที แต่เจ้าของ ปอบกลับมีอาการนัยน์ตาแดงก่ำด้วยสายเลือดจนต้องหลบ หน้าอยู่แต่ในห้องไม่กลัวให้ใครพบหน้า อีกวิธีหนึ่งที่ หมอผีทั่วไปนิยมใช้ไล่ผี คือใช้หวาย เฆี่ยนไล่ปอบซึ่งก็เท่ากับเฆี่ยนคนป่วยนั่นแหละหากปอบกล้าแข็งหมอผีจะ เฆี่ยนหนักๆ กระทั่งเนื้อตัวคนที่ถูกปอบเข้าสิงเขียวช้ำด้วยรอยหวาย เมื่อปอบยอมแพ้ออกจากร่างไป ร้อยหวายก็ จะจางหายไปทันที แต่วิธีไล่ผีปอบแบบนี้เคยเป็นเรื่องเป็นข่าวมาแล้ว
....................เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ถูกปอบเข้าสิง หากป่วยเป็นโรคประสาท ญาติคิดว่าปอบ เข้าจึงไปตามหมอผีมาไล่ หมอผีจัดการเฆี่ยนคนป่วยด้วยหวายได้รับบาดเจ็บบอบช้ำจน หลายครั้งหลายหน โดยคิดว่าปอบฮึดสู้ไม่ยอม แพ้ในที่สุดคนป่วยก็เสียชีวิตร้อนถึงตำรวจ ต้องมาจัดการกับหมอผีและญาติตามกฎหมายและหมอผีคงคิดคุก ติดตะรางไปตามระเบียบ
....................อีกวิธีหนึ่งหมอผีจะนำสัตว์น่าเกลียดน่ากลัวบางชนิดมาข่มขู่ให้ปอบกลัวเช่น คางคก ตุ๊กแก งู ในกรณีนี้ คนที่ ถูกปอบเข้าสิงมักจะเป็นผู้หญิงหรือตัวปอบเป็นหญิง แม้จะเป็นผีปอบ (เธอ) ก็ยังขยาดแขยงสัตว์ประเภทนี้ และ มักจะยอมออกจากร่างที่ เข้าสิงง่าย ๆ
....................ผีปอบที่แก่กล้าเวลาเข้าสิงใครจะอกยาก กล่าวกันว่าใครที่ผีปอบประเภทนี้ เข้าสิงมักจะถูกปอบสิงจนตาย เมื่อหมอผีดำเนินการไล่ผีปอบจากร่างที่ถูกปอบสิงมี ข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ จะปรากฏเป็นก้อนกลมอยู่ใต้ ผิวหนังปูดนูนขึ้นมา เวลา หมอผีจี้อ้อนกลมๆนี้ด้วยไพลเสก มันจะเลื่อนหนีได้ และเมื่อก้อนกลมๆนี้หายไปหมอ ผีที่มีวิชาอาคมยังไม่เก่งนักมักคิดว่าปอบออกไปแล้ว แต่ที่แท้จริงๆ ปอบมันจะเลื่อน หนีไปซ่อนตามซอกขาหนีบ หรืออวัยวะเพศ ทำให้หาไม่พบ
....................สำหรับหมอผีรุ่นครูจะจู่โจมเข้ามัดข้อมือ ข้อเท้าและรอบคอ ด้วยด้าย สายสิญจน์เพื่อไม่ให้ปอบหนีออกจาก ร่าง จากนั้นก็จะใช้ไพลเสกจี้ลงไปที่ก้อนกลมๆ ใต้ผิวหนัง เรียกว่าก้อนกลมนี้หนีไปที่ใดก็จะตามจี้ไม่ยอมปล่อย เวลาที่ถูกไพลเสกจี้ ทางอีสานเรียกว่า "แทง" ปอยจะเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส (คนที่ถูกปอบสิงจะร้องโอด ครวญดังลั่น) หมอผีจะขู่บังคับให้บอกว่าเป็นใคร ซึ่งปอบมักจะยอมสารภาพโดยดี หลังจากทรมานปอบให้หวาด กลัวเข็ดหลาบแล้ว หมอผีจึงจะแก้มัดด้วยด้ายสายสิญจน์ ปล่อยให้ปอบออกไป หมอผีบางรายมีวิธีไล่ปอบชนิดดุเดือด ให้คนเป็นปอบอับอายขายหน้าเป็นที่เปิดเผยแก่ สาธารณชนทั่วไป โดยหมอผีจะไปหาหม้อดินของแม่ม่ายที่มีเขม่าควันไฟจับหนามา แล้วเอาหม้อดินครอบศีรษะคนถูกปอบสิง ใช้มีดโกนขูดเขม่าควันไฟ คล้ายกับโกนผมให้ หมดไปครึ่งศีรษะ จากนั้นปล่อยให้ปอบออกจากร่าง วิธีการ ไล่ปอบแบบนี้จะทำให้ผู้เป็น ปอบหรือเลี้ยงปอบไว้ต้องหลบซ่อนอยู่แต่ในห้อง หรือเวลาออกนอกห้องไปไหน มาไหน ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะตลอดเวลา เนื่องจากเส้นผมแหว่งหายไปครึ่งศีรษะ



ตำนานผีปอบ 1

" ผีปอบ " มีต้นกำเนิดมาจากผู้ที่มีวิชา ไสยศาสตร์ มนต์ดำจนแก่กล้า สามารถใช้อำนาจอัน
เข้มขลังจากเวทมนตร์คาถาไปกระทำร้ายหรือทำลาย ชีวิตผู้อื่นได้ เช่น ทำ เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปฝังรอยเสกหนังควาย เสกตะปู
เข้าท้อง หรือใช้มนตราบังคับวิญญาณ ภูตผีไปเข้าสิง วิชาไสยศาสตร์เหล่านี้มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติกำกับอยู่ด้วย ผู้ที่มีวิชาอาคม
ทาง ไสยศาสตร์ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงระบุว่า เป็นเดียรฉานวิชา จะต้องระวังไม่ให้ละเมิดข้อห้าม ข้อปฏิบัติโดยเด็ดขาด
หากกระทำผิดข้อห้าม ชาวอีสานจะเรียกกันว่า "คะลำ" จะเกิดโทษหนักในข้อ"ผิดครู" วิญญาณ บรมครู จะลงโทษ ให้กลายเป็น
ปอบ หรืออีกประการหนึ่งของผู้ที่กลายเป็นปอบก็คือ เล่นคาถาอาคมอย่างคลั่งไคล้ และใช้ความขลังแห่งวิชา มนต์ดำไปทำลาย ทำร้ายผู้อื่นอย่างไม่กลัว บาปกลัวกรรมกระทำชั่วเป็นอาจิณกรรม กระทั่งถูกอาถรรพณ์ของไสยเวทย์ย้อนกลับมาเข้าตัวเอง
กลายเป็นปอบไป ในที่สุด

"ผีปอบ" ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น "ปอบ ธรรมดา" หมายถึง คนที่มีปอบสิงอยู่ในร่าง
( คือตนเองเป็นปอบ ) เมื่อคนประเภทนี้ตายไป ปอบที่สิงสู่อยู่ก็จะตายตามไปด้วย
"ปอบเชื้อ" หมายถึง ครอบครัวใดพ่อแม่เป็นปอบเมื่อพ่อแม่ตายไปลูก หลานก็จะสืบทอดให้เป็นปอบ
ต่อไป อีกประการหนึ่งเป็นกรรมพันธุ์ไม่ว่า จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรียกว่าเป็นปอบต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบ
"ปอบแลกหน้า" หมายถึง ปอบเจ้าเล่ห์ถนัดเอาความผิดไปโยนให้ผู้อื่น กล่าวคือ เวลาไปเข้า สิงใคร
เมื่อถูกสอบถามว่ามีผู้ใดเลี้ยงหรือบังคับ ปอบ จะไม่บอกความจริงหากไปกล่าวโทษว่าเป็นคนนั้นคนนี้ โดยที่ผู้ถูกระบุชื่อ ไม่รู้เรื่อง รู้ราวอะไรเลย ปอบกักกึก (กึก ภาษาอีสานแปลว่า "ใบ้") หมายถึง ปอบ
ที่ไม่ยอมพูดอะไรเวลามีคน ถาม จนกว่าญาติพี่น้องจะไปตามหมด ผีมาขับไล่ จึงจะยอมเปิดปากพูดว่าตนเป็นปอบของใครมีใครใช้ให้มา เข้าสิง

ตำนานผีปอบ 2



ผู้ที่ถูกผีปอบเข้าสิงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปอบเข้า" จะมีอาการแตกต่างกันไปบางคน
แสดงกิริยาอาการ ดุร้ายบางคนจะนอนซมซึมคล้ายกับป่วยไข้อย่างหนัก บางคนจะร่ำไห้รำพันไปต่างๆ
นานาแต่ไม่ว่าจะมีทีท่า อาการอย่างไร ผู้ที่ถูกปอบเข้าสิงจะเรียกร้องให้นำอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ พวกหมู
ตับ ไก่ต้มมากิน เหมือน ๆ กับเวลา กินก็แสดงความตะกละมูมมามและกินได้จุผิดปกติเมื่อญาติพี่น้อง
รู้ว่าคนป่วยถูกปอบเข้าสิง เขาก็จะไปตามหมอผีให้มาไล่ปอบ การไล่ปอบให้ออกจากร่างมีหลายวิธีตาม
แนวทางที่หมอผีได้ร่ำเรียนมาบางคนจะเอาพริกแห้งมาเผา ให้ควันรม คนป่วยจนสำลักควันน้ำตาไหลพราก

ครั้นปอบออกจากร่าง แล้วหมอผีจะข่มขู่สอบถามว่าผีปอบเป็นใครมาจากไหน เมื่อปอบรับสารภาพหมอผี
ก็ จะปล่อยไป คนป่วยได้สติหายเป็นปกตินัยน์ตาที่แดงก่ำเนื่องจากถูกควันพริกเผารม จะหายไปทันทีแต่เจ้าของปอบกลับมี
อาการนัยน์ตาแดงก่ำด้วย สายเลือดจนต้องหลบหน้าอยู่แต่ในห้องไม่กล้าให้ใครพบหน้า อีกวิธีหนึ่ง คือใช้หวายเฆี่ยนไล่ปอบ
ซึ่งก็เท่ากับเฆี่ยนคนป่วยนั่นแหละ หากปอบกล้าแข็งหมอผีจะเฆี่ยนหนักๆ กระทั่งเนื้อตัวคนที่ถูกปอบเข้าสิงเขียวช้ำด้วย
รอยหวาย เมื่อปอบยอมแพ้ออกจากร่างไปรอยหวายก็จะจางหายไปทันที แต่วิธีไล่ปอบแบบนี้เคยเป็นข่าวมาแล้ว

เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ถูกปอบเข้าสิง หากป่วยเป็นโรคประสาท ญาติคิดว่าปอบเข้าจึงไปตามหมอผีมาไล่ หมอผี
จัดการเฆี่ยนคนป่วย ด้วยหวายได้รับบาดเจ็บบอบช้ำจนหลายครั้งหลายหน โดยคิดว่าปอบฮึดสู้ไม่ยอม แพ้ในที่สุด คนป่วยก็
เสียชีวิต ร้อนถึงตำรวจต้องมาจัดการกับหมอผีและญาติตามกฎหมาย

อีกวิธีหนึ่ง หมอผีจะนำสัตว์น่าเกลียดน่ากลัวบางชนิดมาข่มขู่ให้ปอบกลัว เช่น คางคก ตุ๊กแก งู ในกรณีนี้ คนที่
ถูกปอบเข้าสิงมักเป็นผู้หญิงหรือตัวปอบเป็นหญิง แม้จะเป็นผีปอบ ( เธอ ) ก็ยังขยาดแขยงสัตว์ประเภทนี้และ มักจะยอมออก
จากร่างที่เข้าสิงง่าย ๆ

ตำนานผีปอบ 3

ผีปอบที่แก่กล้าเวลาเข้าสิงใครจะอดอยาก กล่าวกันว่าใครที่ผีปอบประเภทนี้เข้าสิงมักจะถูกปอบสิงจนตาย
เมื่อหมอผีดำเนินการไล่ผีปอบจากร่างที่ถูกปอบสิงมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ จะปรากฎเป็นก้อนกลมอยู่ใต้
ผิวหนังปูดนูนขึ้นมา เวลาหมอผีจี้ก้อนกลม ๆ นี้ด้วยไพลเสก มันจะเลื่อน

สำหรับหมอผีรุ่นครูจะจู่โจมเข้ามัดข้อมือ ข้อเท้าและรอบคอ ด้วยด้ายสายสิญจน์เพื่อไม่ให้ปอบหนีออกจากร่าง
จากนั้นก็จะใช้ไพลเสกจี้ลงไปที่ก้อนกลม ๆ ใต้ผิวหนัง เรียกว่าก้อนกลมนี้หนีไปที่ใดก็จะตามจี้ไม่ยอมปล่อย จากนั้นใช้ไพล
เสกจี้ทางอีสารเรียกว่า "แทง" ปอบจะเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส (คนที่ถูกปอบสิงจะร้องโอดครวญดังสนั่น)หมอผีจะขู่บังคับ
ให้บอกว่าเป็นใคร ซึ่งปอบมักจะยอมสารภาพโดยดี หลังจากทรมานปอบให้หวาดกลัวเข็ดหลาบแล้ว หมอผีจึงจะแก้มัดด้วย
ด้ายสายสิญจน์ปล่อยให้ปอบออกไป

หมอผีบางรายมีวิธีไล่ปอบชนิดดุเดือด ให้คนเป็นปอบอับอายขายหน้าเป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไป โดย
หมอผีจะไปหาหม้อดินของแม่ม่ายที่มีเขม่าควันไปจับหนามา แล้วเอาหม้อดินครอบศีรษะคนถูกปอบสิงใช้มีดโกนขูดเขม่าควัน
ไฟ คล้ายกับโกนผมให้หมดไปครึ่งศีรษะ จากนั้นปล่อยให้ปอบออกจากร่าง วิธีการไล่ปอบแบบนี้จะทำให้ผู้เป็นปอบหรือ
เลี้ยงผีปอบต้องหลบซ่อนอยู่ในห้อง หรือเวลาออกไปไหนก็ต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะตลอดเวลา เนื่องจากเส้นผมแหว่งหาย
ไปครึ่งศีรษะ

ตำนานผีปอบ 4

เรื่องของปอบนี้จะลงความเห็นว่าเกิดจาก "ความเชื่อ" หรือความงมงายไร้สาระเอาเสียเลยก็
คงไม่ได้ เพราะเรื่องราวประหลาด ๆ เกี่ยวกับผีปอบยังเคยปรากฎกับพระอริยสงฆ์ เช่น หลวงปู่ดู่พรหม
ปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาแล้ว

กล่าวคือ มีหมอผีไสยเวท ชาวเวียงจันน์คนหนึ่งมาที่วัดสะแก มานมัสการหลวงปู่ดู่ บอกท่าน
ว่าตนมีวิชาดีเป็น วิชาบิดไส้ บิดฟัน ต้องการมอบวิชานี้ให้แก่ท่านเป็นการเฉพาะเพราะเห็นว่าไม่มีใคร
รับถ่ายทอดวิชาเหล่านี้ได้ แล้วก็มอบคัมภีร์โบราณให้ผูกหนึ่ง หลวงปู่ดูดเห็นว่าเป็นวิชาแปลก ก็รับไว้
โดยเสียค่าครูให้เป็นธรรมเนียม เมื่อได้คัมภีร์นั้นมาแล้ว หลวงปู่ก็ไม่ได้เปิดดูหรือให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ท่านนำไปวางไว้ที่โต๊ะหมู่บูชา และก็ลืม ๆ ไป ส่วนหมอผีไสยเวทชาวลาวยังไม่กลับไปทันที หากนอนพักค้างคืนที่วัดสะแก
ต่อ 2 - 3 วัน

คืนนั้น..... หลวงปู่ดู่เกิดฝันประหลาด ฝันว่าท่านออกไปหากินคล้าย ๆ กับเป็นปอบและไปกินควายชาวบ้าน
ซึ่งอยู่ในตำบลใกล้เคียง เช้าวันรุ่งขึ้นท่านก็ยังไม่ฉุกคิดอะไร กระทั่งล่วงเข้าคืนที่สอง ขณะที่หลวงปู่นอนหลับ ท่านก็ฝัน
ในลักษณะเดียวกันอีก คือ ออกไปกินไส้ควายของชาวบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้ ๆ

เช้าวันรุ่งขึ้น ก็ได้มีชาวบ้านมาหาหลวงปู่ดู่ เล่าถวายต่อท่านว่า เมื่อคืนนี้ควายของเขาตาย กะทันหันโดยหา
สาเหตุไม่พบ อีกทั้งลักษณะการตาย มีสภาพน่ากลัวหลายอย่าง หลวงปู่สอบถามว่าตั้งบ้านเรือน อยู่อาศัยที่ใด
ชาวบ้านก็กราบเรียนให้ท่านทราบ คราวนี้ หลวงปู่ดู่ถึงกับสะดุ้ง เพราะที่อยู่ของชาวบ้านคนนั้นตรงกันกับบ้านที่ท่านฝัน
ว่าไปกินไส้ควายมานั่นเอง หลวงปู่ดู่คิดว่า "อ้ายลาวไสยเวทคนนี้เห็นทีจะเอาวิชาชั่วร้ายมามอบให้ท่านเป็น ถึงได้เกิดเหตุการณ์
ดังกล่าวขึ้น หากท่านเกิดฝันไปกินคนเข้า อาจทำให้ใครต่อใครตายได้และวิชาที่ท่านรับมาเห็นทีจะเป็นวิชาปอบ ดังนั้น
หลวงปู่ดู่จึงได้นำคัมภีร์ตำรา เอามาเผาไฟ

ลาวหมอผีรู้ว่าหลวงดู่เผาวิชาตำรามันทิ้ง มันก็แสดงท่าโกรธเคืองไม่ใช่น้อย ตอนจากวัดกลับถิ่นเดิมของมัน
มันไม่ยอมมาบอกกล่าวกราบลา แม้แต่คำเดียว และนับแต่นั้นก็ไม่หวนหลับมาที่วัดสะแก อีกเลย

ประเทศไทยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย


ดินแดนประเทศไทยก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 หรือดินแดนประเทศไทยก่อนสมัยประวัติศาสตร์นั้น นักโบราณคดีชาวตะวันตกและชาวไทย (ดอกเตอร์แวนฮิกเกอเรน นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี) ได้แบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทยไว้ 4 สมัย คือ
สมัยหินเก่า (Paleolithic)
สมัยหินกลาง (Mesolithic)
สมัยหินใหม่ (Neolithic)
สมัยโลหะ (Metal)1

1. สมัยหินเก่าในประเทศไทยยุคหินเก่าคือยุคที่มีอายุระหว่าง 500,000 – 10,000 ปีล่วงมาแล้ว ร่องรอยของมนุษย์หินเก่าในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย ในปี พ.ศ.2475 ศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซง ชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้ามาสำรวจหาร่องรอยสมัยหินเก่าที่จังหวัดเชียงราย ราชบุรี และลพบุรี ได้พบเครื่องมือหินกรวด 2-3 ชิ้น ศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซงได้ตั้งชื่อวัฒนธรรมเครื่องมือหินเก่าในประเทศไทยว่า ไซแอมเนี่ยน (Siamnian) แต่การค้นพบของศาสตราจารย์ฟริตซ์ สารแซง ไม่เป็นที่สนใจและยอมรับในหมู่นักมนุษย์วิทยาและโบราณคดี ชื่อของวัฒนธรรมนี้จึงตกไป
วัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศไทยเพิ่งได้รับความสนใจอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการค้นพบของดอกเตอร์ แวนฮิกเกอเรน นักมนุษย์วิทยาชาวฮอลันดาซึ่งเป็นเชลยศึกของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ (กาญจนบุรี-มะละแหม่ง) ในระหว่างที่ถูกบังคับให้ทำงานดังกล่าวเข้าได้พบเครื่องมือหินจำนวนมาก เมื่อสงครามสงบลงเขาได้ส่งเครื่องมือหินเหล่านั้นไปตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ต ผลปรากฏว่าเป็นเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว 6 ก้อน และขวานหินขัดสมัยหินใหม่ 2 ก้อน เครื่องมือหินดังกล่าวขุดพบที่สถานีบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี2
การค้นพบของดอกเตอร์แวนฮิกเกอเรน เป็นหลักฐานยืนยันอีกครั้งว่ามีมนุษย์ที่ใช้เครื่องมือหินเก่าอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันและสันนิษฐานต่อไปว่ามนุษย์เหล่านั้นอาจจะเป็นเผ่าเดียวกันกับที่พบที่ชวาและปักกิ่ง ซึ่งมีอายุประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว ดินแดนประเทศไทยปัจจุบันอาจจะเป็นทางผ่านสำหรับติดต่อ หรืออาจจะเป็นที่อยู่ระหว่างอารยธรรมทั้งสอง3 นอกจากจะค้นพบร่องรอยของวัฒนธรรมยุคหินเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรี และยังพบเครื่องมือหินเก่าที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายด้วย
2. สมัยหินกลางในประเทศไทยสมัยหินกลางคือช่วงเวลาระหว่าง 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้ว นอกจากสำรวจและขุดค้นของนักโบราณคดีทั้งไทยและต่างประเทศ ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนประเทศไทยบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลพบุรี และราชบุรี เป็นบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัย 10,000 ปีถึง 7,000 ปีล่วงมาแล้ว หลักฐานที่พบมีทั้งโครงกระดูกมนุษย์ และโครงกระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหิน และเปลือกหอย สมัยหินกลาง คือนอกจากจะรู้จักทำเครื่องมือหินใช้แล้ว ยังรู้จักนำเอากระดูกสัตว์และเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องมือ ส่วนพวกเครื่องใช้บางประเภทมนุษย์สมัยกลางสามารถทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา จำพวกหม้อ จาน ชาม หม้อน้ำขึ้นใช้ เครื่องปั้นดินเผาที่มนุษย์สมัยหินกลางทำขึ้น มีลักษณะผิวเรียบมัน พบที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์4
3. สมัยหินใหม่ในประเทศไทยสมัยหินใหม่คือช่วงเวลาระหว่าง 5,000-2,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการสำรวจและขุดค้นของนักโบราณคดีที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และขอนแก่น ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่มีขนาดสูงประมาณ 150-167 ซม. ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ แยกออกเป็น 4 ประเภทคือ5
1) เครื่องมือที่ทำด้วยหิน ที่พบมากคือ ขวานหินขัด ที่ชาวบ้านเรียกว่า ขวานฟ้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายข้างหนึ่งมน ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งขัดไม้แหลมเรียบ แต่งให้คม ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นขวานศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากฟ้าขณะที่ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า ขวานหินขัดนี้ขุดพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย อายุของขวานหินขัดนี้ประมาณ 4,000 ปี
2) เครื่องมือที่ทำด้วยกระดูก เช่น ปลายหอก ลูกศร เป็นต้น
3) เครื่องมือที่ทำด้วยหอย เช่น พวกใบมีด
4) เครื่องมือที่ทำด้วยดินเผา ทำเป็นเครื่องใช้รูปต่าง ๆ เช่น หม้อ จาน แกนปั่นด้าย กระสุนดินเผา เป็นต้น

จากหลักฐานที่พบ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ที่อยู่ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันคงมีจำนวนมาก และตั้งหลักแหล่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย บางกลุ่มยังอาศัยอยู่ในถ้ำบางกลุ่มออกมาจากถ้ำมาสร้างบ้านพักหรือกระท่อม ในด้านวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ มนุษย์สมัยนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้น มีความรักสวยรักงาม รู้จักทำเครื่องประดับร่างกายจากเปลือกหอย ลูกปัด ทำกำไลหิน กำไลกระดูก มีการฝังศพผู้ตายในท่านอนหงายแขนแนบลำตัว วางเครื่องปั้นดินเผาไว้เหนือศีรษะ ปลายเท้าและบริเวณเข่า นอกจากนั้นยังใส่สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องประดับในหลุมฝังศพด้วย
4. สมัยโลหะในประเทศไทยยุคโลหะนี้ในบางช่วงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ยุคสำริด และยุคเหล็ก แต่การศึกษาที่ได้ทำกันหลายแห่งในประเทศไทย ยังไม่อาจจำแนกเป็น 2 ยุคดังกล่าวได้ชัดเจน กล่าวคือ
นักโบราณคดีได้พบร่องรอยของมนุษย์ยุคโลหะตอนต้นในประเทศไทย จากการขุดค้นที่ตำบลโนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น นักโบราณคดีพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือที่ทำด้วยสำริดทั้งนั้น ไม่มีเครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก แต่มีขวานที่ทำด้วยทองแดงที่เกิดจากธรรมชาติ (ไม่ใช่ทองแดงถลุง) เอามาทุบเป็นรูปขวานโดยไม่ใช้ความร้อน นอกจากนั้นคณะสำรวจและขุดค้นยังพบแม่พิมพ์หินสำหรับหล่อขวานสำริดอายุประมาณ 4,120-4,475 ปีมาแล้ว เก่ากว่ายุคสำริดที่พบที่ดองซอนประเทศเวียดนามและเก่ากว่ายุคสำริดของจีนเล็กน้อยแหล่งที่พบเครื่องมือสำริดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ที่ตำบลเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่นี่นักโบราณคดีได้พบทั้งเครื่องมือสำริด เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริด เครื่องปั้นดินเผารูปแปลก ๆ และมีลายเขียนด้วยสีแดงเป็นลายต่าง ๆ ประมาณ 1,000 แบบ และเครื่องประดับทำด้วยแก้วสีเขียว
การขุดค้นที่บ้านเชียงทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ ถ้าพิจารณาเครื่องมือเครื่องใช้แล้วควรจะตัดสินว่าเป็นของมนุษย์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งควรจะมีอายุประมาณ 2,100 ปีมาแล้ว แต่เมื่อได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาไปพิสูจน์อายุ โดยวิธีเทอโมลูเนสเซ็นส์ (Thermoluminescence) แล้วปรากฏผลว่าเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดได้จากระดับความลึก 70-80 เซนติเมตรจากผิวดิน มีอายุประมาณ 5,554-460 ปีมาแล้ว ชิ้นส่วนที่ได้จากระดับความลึก 120 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 5,574-175 ปีมาแล้ว นักโบราณคดีบางท่าน6 จึงสรุปว่ามนุษย์ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้นได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เมื่อประมาณ 5,000-7,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนั้น นอกจากจะรู้จักการสร้างเครื่องมือ เครื่องประดับสำริด และอื่น ๆ ยังรู้จักทำผ้าไหมและเครื่องนุ่งห่มอีกด้วย ศาตราจารย์สุด แสงวิเชียร ได้สรุปวิวัฒนาการของวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไว้ว่า ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยหินเก่า คือเมื่อประมาณ 500,000 ปีมาแล้ว อาจจะอยู่ตามตำบลที่พบเครื่องมือ คือบริเวณแควน้อยใหญ่และตามเชิงดอยของจังหวัดกาญจนบุรี และเชียงราย แต่ยังไม่พบโครงกระดูกที่จะช่วยในการสันนิษฐานว่าเป็นมนุษย์ใด สมัยหินกลางพบร่องรอยของมนุษย์อาศัยอยู่ตามเพิงผา เช่น ที่เพิงผาหน้าถ้ำ จังหวัดแม่ฮ่องสอนพบโครงกระดูกซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นมนุษย์เผ่าโปรโตมาเลย์
สมัยหินใหม่มีมนุษย์อาศัยอยู่เกือบทั่วประเทศไทยปัจจุบัน บริเวณที่อยู่กันหนาแน่นคือ แควน้อยแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมสูงสามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้ปราณีตเท่าเทียมเครื่องปั้นดินเผาที่พบในประเทศจีน ที่เรียกว่า “วัฒนธรรมโปรโตลุงซาน” และ “วัฒนธรรมลุงซาน” อยู่ทางตอนกลางของประเทศจีน จึงเป็นหลักบานยืนยันว่าได้มีมนุษย์ที่มีวัฒนธรรม ร่วมกันอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนกลางของประเทศจีนจนถึงแถบตะวันตกของดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เนื่องจากโครงกระดูกที่พบมีลักษณะไม่แตกต่างจากโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบัน นักโบราณคดีบางท่านจึงเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของไทยปัจจุบัน
สมัยโลหะของประเทศไทยยังมีปัญหาอยู่มาก เพราะมนุษย์ยุคโลหะที่พบทางตะวันตกของประเทศไทยปัจจุบันมีอายุเปรียบเทียบประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมนุษย์ยุคโลหะมีอายุประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ทำให้เกิดปัญหาว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณทั้งสองที่กล่าวนี้เป็นชนละเผ่ากันหรือเป็นเผ่าเดียวกัน แต่มีความจริงทางวัฒนธรรมต่าง กับพวกที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีวัฒนธรรมล้ำหน้า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณตะวันตกของประเทศไทย และล้ำหน้ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอยู่ 3 อย่าง คือ
1) การหล่อสำริดเป็นเครื่องมือและเครื่องประดับ
2) การเขียนลายสีบนภาชนะดินเผา
3) รู้จักใช้ไหมมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มก่อนแหล่งอื่น

ดังนั้นประเทศไทยจึงมิใช่แหล่งที่เพียงแต่รับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นเท่านั้น แต่เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วย

เพลงอาเซียน










 The ASEAN Way

Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Looking out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.

We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream,
we care to share for it's the way of ASEAN


 คำแปล

ชูธงเราให้สูงสุดฟ้า โอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเรา
อาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่ง
มองมุ่งไปยังโลกกว้าง
สันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่ม
ความเจริญ คือปลายทางสุดท้าย
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
ร่วมกันเพื่ออาเซียน
เรากล้าฝัน
และใส่ใจต่อการแบ่งปัน
นี่คือวิถีอาเซียน


 เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกับ
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล




มัมมี่

มัมมี่ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีคือมัมมี่อียิปต์โบราณ แต่ในรูปเป็นมัมมี่ที่เกิดจากสภาพอากาศอันร้อนและแห้งแล้งค่ะ เป็นมัมมี่ที่อยู่ในยุคสมัยก่อนที่มีการปกครอง
โดยฟาโรห์ค่ะ ซึ่งในสมัยนั้นชาวอียิปต์ยังไม่รู้จักวิธีการทำมัมมี่ค่ะ สุสานของเขาเป็นแบบเรียบง่ายค่ะ โดยขุดหลุมให้ลึกลงไป แล้วนำเอาศพมาวาง นำเอาสมบัติของผู้ตาย
เช่นลูกปัด โถใส่อาหาร วางไว้รอบๆร่างของผู้ตาย ศพนั้นไม่ได้มีการนำเสื้อผ้ามาใส่ให้ค่ะ และไม่มีการนำทรายมากลบร่างผู้ตายด้วย
ต่อมาเป็นยุคที่อียิปต์รู้จักวิธีการทำมัมมี่แล้วค่ะ แต่ขอไม่บรรยาย ถึงวิธีใน การทำมัมมี่เพราะในเว็บนี้ได้มีผู้เขียนไว้แล้วแต่จำ ไม่ได้ว่าอยู่ในกระทู้ไหนและท่านใดเป็นเป็นผู้เขียน(พิมพ์) (ในรูปคือมัมมี่ของเซติที่1พระองค์เก่งกาจทางด้านการรบเป็นอย่างมากและ พระองค์ก็ยังส่งเสริมและให้มีการพัฒนาทางด้านศิลปะ จนถือว่า เป็นยุคที่ศิลปะมีความงดงามสูงสุดอีกยุคหนึ่งด้วย)
มัมมี่ฟาโรห์เซติที่2ค่ะ
รูปมัมมี่ของ(TUTMOSIS ที่1)ถ้าใช่นะค่ะเพราะยังเป็นมัมมี่ที่นักโบราณคดีถกเถียงกันอยู่เนื่อง จากพระศพมือไปวางอยู่ในท่าของสามัญชน(แขนสองข้างแนบลำตัว)
และผลของการเอ็กซเรย์มัมมี่นี้ก็ตายตอนอายุ 20 ปี ซึ่งไม่ตรงกับประวัติการรบที่โชกโชนของพระองค
TUTMOSIS ที่ 3 พระองค์เชี่ยวชาญทางด้านการรบเป็นอย่างมากจนได้รับฉายาว่า "นโปเลียนแห่งอียิปต์"เป็นมัมมี่รายแรกที่ได้ปรากฎโฉมต่อหน้าสาธารณะชน
TUTMOSIS ที่ 4 คู่แก่งแย่งบัลลังค์ของฮัทเซพซุท
รามเสสที่ 1
รามเสสที่2 ถือว่าเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์
รามเสสที่ 3 เป็นมัมมี่ฟาโรห์พระองค์แรกที่มีการทำตาปลอม และเปลี่ยนท่านอนโดยเอามือสองข้างวางไขว้ไว้ที่หน้าอกและแบมือออก ถือเป็นฟาโรห์ผู้ทรงอำนาจของอียิปต์องค์สุดท้าย
รามเสสที่ 4
TIYIเสด็จย่าของฟาโรห์ตุตันคามุน
ฟาโรห์ตุตันคามุน
ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ 17 ฟาโรห์เซเคเนนเร สิ้นพระชนม์จากการออกรบ
อเมนโฮเทปที่ 2 เป็นฟาโรห์ที่โชคดีเพียงพระองค์ที่ไม่ต้องคอยถูกย้ายพระศพหนีจากพวกโจรขโมยสุสาน
TUTMOSISที่2 เป็นหนึ่งในกษัตริย์นักรบผู้เก่งกล้าของอียิปต์แต่ถูกกลบรัศมีจากราชินีของพระองค์เองคือราชินีฮัทเซพซุท
มัมมี่ฟาโรห์รามเสสที่ 6 พระศพถูกขวานจามเสียหายด้วยน้ำมือโจรปล้นสุสาน
พิเนดเจมที่1
ราชินีเฮเนทโทวีย์ พระชายาของฟาโรห์พิเนดเจมที่ 1 ในยุคนี้ถือว่าศิลปะในการมัมมี่มีการพัฒนาถึงขีดสุดค่ะ มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากการทำมัมมี่แบบเดิม โดยมีการใส่สารผสมของไขมันและโซดาเพื่อสร้างความมีน้ำมีนวลให้แก่ผิวหนัง และมีการยัดเศษผ้าเข้าไปเพื่อให้ผิวหนังเต่งตึง
ฟาโรห์ซิพทาห์ การทำมัมมี่ในยุคของพระองค์ก็มีการพัฒนาการเป็นอย่างมากเช่นกันค่ะ เพราะส่วนแก้มของฟาโรห์องค์นี้มีการยัดผ้าลินินลงไปเพื่อให้แก้มเต่งตึง
และเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่มีรอยเย็บแผลที่เรียบร้อย แผลถูกปิดสนิทค่ะ ตอนมีชีวิตพระองค์ป่วยเป็นโรคโปลิโอและทรงทุกข์ทรมานด้วยโรคนี้จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพค่ะ

ฮีตสิบสอง - คองสิบสี่



   ฮีตสิบสอง - คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

  ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึง ประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี
 ฮีตสิบสอง คือ จารีต ประเพณี 12 อย่าง อาจเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ก็ได้ เพราะฮีตแต่ละอย่างกำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละเดือนครบทั้ง 12 เดือน เดือนใดมีจารีตประเพณีอะไรประจำเดือน นักปราชญ์โบราณได้วางฮีต 12 ไว้ ดังนี้
เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม

image
      

 บุญเข้ากรรม ได้แก่ประเพณีทำบุญเข้ากรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคมนั่นเอง โดยมีมูลเหตุ เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับตะไคร้น้ำขาดเป็นอาบัติ ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายมองหาภิกษุสักรูปหนึ่งเพื่อจะแสดงอาบัติก็ไม่เห็น ครั้นมรณภาพไปแล้ว จึงเกิดเป็นพญานาคชื่อ เอรถปัต เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เกิดมีการเข้ากรรมขึ้นทุกปี เพื่อให้โอกาสแก่ภิกษุอาบัติที่ไม่มีโอกาสแสดงอาบัติได้แสดงและได้อยู่กรรมจนพ้นอาบัติในเดือนนี้

       พิธีทำบุญเข้ากรรม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
       การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง


 เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน

image
       ลาน ในที่นี้คือ ลานนวดข้าว คือ เอาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมากองให้สูงขึ้น กริยาที่ทำให้ข้าวเป็นกองสูงขึ้น เรียกว่า คูณ หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วก็อยู่ในเดือนยี่หรือเดือนมกราคม ชาวนาก็จะทำบุญคูณลานหรือเรียกบุญเดือนยี่ก็ได้

       มูลเหตุที่มีการทำบุญคูณลานนั้นมีว่า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีชายพี่น้องสองคนทำนาร่วมกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายอยากทำข้ามธุปกยาสถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ทำ จึงตกลงแบ่งนากัน เมื่อน้องชายได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้วก็ทำทานถึง 3 ครั้ง คือ ตอนที่ข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้ง ฟาดข้าว 1 ครั้ง และขนข้าวขึ้นยุ้งอีก 1 ครั้ง ในการถวายทานทุกครั้งปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ครั้นถึงสมัยพระโคดมก็ได้เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โกญทัญญะ ได้ออกบวชเป็นปฐมสาวก แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
       ส่วนพี่ชายถวายข้าวในในเพียงครั้งเดียวคือในเวลานวดข้าวเสร็จแล้ว และได้ตั้งปณิธานขอสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล และต่อมาได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชก ได้บวชในศาสนาของพระโคดม แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโคดม คงเพียงได้กราบบังคมทูลถามข้อสงสัยในขณะที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน เมื่อได้ฟังดำรัสแล้วก็สำเร็จเป็นพระอนาคา และเป็นอริยสงฆ์องค์สุดท้ายในสมัยพุทธกาล

       พิธีทำบุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้าง ตอนเข้าถวายภัตตาหารบิณฑบาตร เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
       การทำบุญคูณลานนี้ทำขึ้นเฉพาะนาใครนามัน ทำส่วนตัว แต่ถ้าทำส่วนรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญคุ้ม หรือ บุญกุ้มข้าวใหญ่ คนทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกัน โดยมีการปลูกปะรำขึ้น มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกัน มารับศีลฟังธรรมถวายอาหารพระสงฆ์ อันนี้เรียกว่า บุญคุ้ม แต่ถ้าเป็นบุญคุ้มข้าวใหญ่ก็มีการนำข้าวเปลือกมารวมกัน ทำพิธีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สถานที่ ซึ่งต้องใช้ศาลาโรงธรรมหรือศาลากลางบ้าน 

เดือนสาม - บุญข้าวจี่
image
       ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วทำเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ด ขนาดใหญ่เสียบไม้ย่างไฟให้เกรียม ทาไข่ไก่หรือไข่เป็ดแล้วย่างให้สุกดีอีกครั้ง

       การทำบุญข้าวจี่เป็นอาหารถวายทานมีผู้นิยมทำกันมาก เชื่อว่าได้กุศลมากเป็นกาละทานอย่างหนึ่ง ทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) โดยมีมูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวจี่นั้นว่า ครั้งพุทธกาลนางปุณณทาสีทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ตอนแรกนางคิดว่าถวายแล้วพระพุทธองค์คงจะไม่ฉัน เพราะเป็นอาหารพื้น ๆ พระพุทธองค์พรงทราบวาราจิตของนางปุณณทาสี ก็ทรงสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนาและทรงประทับนั่งละเสวยข้าวจี่ตรงนั้นทันที เป็นเหตุให้นางปุณณทาสีเกิดความปิติยินดีอย่างที่สุด เมื่อเสวยเสร็จพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้นางปุณณทาสีฟัง หลังจากฟังแล้วนางก็ได้บรรลุโสดาบันติผล เพราะเหตุนี้บรรดาชาวนาจึงถือเป็นนิมิตหมายในการทำบุญข้าวจี่หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่ออานิสงส์ทำนองนั้น

       พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์การทำข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านอาจไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้ายข้าวจี่ พอพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี


เดือนสี่ - บุญพระเวส

image
       พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ

       พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง

เดือนห้า - บุญสงกรานต์

 image      คำว่า "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า "สงกรานต์" ปีหนึ่งมี 12 ราศี แต่วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษ เราเรียกเป็นพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาขึ้นปีใหม่ตามคติโบราณ 


       มูลเหตุที่จะมีบุญสงกรานต์มีเรื่องเล่าว่า กบิลพรหมจากพรหมโลกมาถามปัญหาธรรมบาล 3 ข้อ คือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหน ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผลัดให้เจ็ดวัน ในขั้นเเรกธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหกธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า เผอิญแอบได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบสู่กันฟังว่า ตอนเข้าศรีอยู่ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้า ตอนกลางวันหรือเที่ยงศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมหน้าอก ตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในตอนเย็น ธรรมบาลมีความรู้ภาษานกจึงจำคำตอบได้ ถึงเจ็ดวันถ้วน กบิลพรหมมาทวงปัญหา ธรรมบาลตอบได้ตามที่ได้ยินนกพูดกัน กบิลพรหมจึงตัดศีรษะตนบูชาตามสัญญา แต่ศีรษะกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ หากตกใส่ดินไฟจะไหม้ ตกใส่อากาศฝนจะแล้ง และถ้าทิ้งใส่ในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง กบิลพรหมจึงให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งมีชื่อว่า ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิริณี กิมิทา และมโหทร เอาพานมารองรับศีรษะของตนไว้ แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำศีรษะกบิลพรหมไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลี เขาไกรลาส ครบหนึ่งปีธิดาทั้งเาจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญศีรษะของกบิลพรหม แห่รอบเขาพระสุเมรุครั้งหนึ่ง พิธีแห่เศียรกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้น

       พิธีทำบุญสงกรานต์ นิยมทำในเดือนห้า โดยเริ่มตั้งแต่วันทื่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน โดยวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ นที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้ายเป็นเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป(นวันขึ้นปีใหม่ วันแรกมีพธธีสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ตอนกลางคืนอาจมีการคบงันที่วัด มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันตลอด 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน ในวันที่ 15 เมษายนบางแห่งตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายมีการแขวนธงยาวและก่อเจดีย์ทรายที่วัด นอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การแห่ข้าวพันก้อน และการแห่ดอกไม้ด้วย

เดือนหก - บุญบั้งไฟ
image
       นิยมทำกันในเดือนหก มูลเหตุจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อทำบุญบั้งไฟแล้วเชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ และประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

       พิธีทำบุญบั้งไฟ หมู่บ้านและวัดเจ้าภาพจะเตรียมทำบั้งไฟ เตรียมที่พักและสุรา อาหารไว้ต้อนรับผู้มาร่วมงาน มีการบอกบุญไปยังวัดและหมู่บ้านใกล้เคียง ให้ทำบั้งไฟและเชิญสคนมาร่วมงาน บางแห่งมีการประกวดบั้งไฟและขบวนแห่ด้วย ในงานวันแรก ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับเชิญ และพระภิกษุสามเณรที่ได้นิมนต์มาร่วมงานพร้อมบั้งไฟ วันแรกจะมีการแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟและขบวนแห่(ถ้ามี) และแสดงการเล่นต่าง ๆ เช่น การเซิ้ง และการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น วันรุ่งขึ้นมีการละเล่นต่ออีก ในงานมักมีพิธีบวชนาค และบางที่มีพิธีฮดสรง หรือเถราภิเษก แด่พระภิกษุสามเณร ผู้เห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรม เพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณด้วย ตอนบ่ายของวันที่สองของงานจึงนำบั้งไฟไปจุด ณ ที่นั่งร้านที่จัดไว้เป็นเสร็จพิธี

เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
image
       บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือนเจ็ด จัดทำขึ้นเพื่อชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรต่าง ๆ ออกจากหมู่บ้าน ตำบล เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนหายจากเหตุเภทภัยต่าง ๆ และอยู่เย็นเป็นสุข

       มูลเหตุที่จะมีการทำบุญซำฮะ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลที่เมืองไพสาลีเกิดทุพภิกขภัย เพราะฝนแล้ง ผู้คนอดอยากล้มตายมากมาย ชาวเมืองจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไประงับเหตุเภทภัย พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด โดยให้พระอานนท์เรียนคาถาแล้วไปสวดมนต์ในเมือง พร้อมนำบาตรน้ำมนต์ของพระองค์ไปประพรมจนทั่วเมืองทำให้ฝนตก ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้เกิดประเพณีทำบุญซำฮะตั้งแต่นั้นมา

        พิธีทำบุญซำฮะ ชาวบ้านจัดทำปะรำขึ้นในบริเวณหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง มีต้นกล้วยผูกเสาปะรำสี่มุม จัดอาสนะสงฆ์ เตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ด้ายสายสินจน์ น้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน เครื่องไทยทาน กรวดทราย หลัดไม้ไผ่แปดหลัก ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายภัตตาหาร ทำพิธีอยู่สามคืน เข้าวันสุดท้ายถวายสังฆทาน เสร็จพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ แล้วคนเฒ่าคนแก่ผูกแขนให้ชาวบ้าน หว่านกรวดทรายทั่วละแวกบ้าน เอาหลักแปดหลักไปตอกไว้ในทิศทั้งแปดของหมู่บ้าน วงด้ายสายสิญจน์รอบหมู่บ้าน และชาวบ้านนำสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย ภาชนะชำรุด และสิ่งที่จะทำให้เกิดสกปรก ฯลฯ ไปทิ้งนอกหมู่บ้าน หรือทำการเผาหรือฝัง ให้บริเวณบ้านสะอาดเรียบร้อย เป็นเสร็จพิธี
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
image
       ถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด เป็นวันทำบุญ การเข้าพรรษาได้แก่ พระภิกษุสามเณร อยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปค้างคืนที่อื่น นอกจากไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือการไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษา เมื่อมีเหตุจำเป็น ได้แก่
       1. สหธรรมิก (ผู้มีธรรมอันร่วมกัน) หรือมารดาบิดาป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาล
       2. สหธรรมิกกรวะสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
       3. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด ไปเพื่อปฏิสังขรณ์
       4. ทายกบำเพ็ญกุศล ส่งมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา
แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างคืนที่อื่นได้ และต้องกลับมาภายใน 7 วัน

       มูลเหตุมีการเข้าพรรษาเนื่องจากสมัยพุทธกาาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอย่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า "ฉับพัคคีย์" ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาล ไม่สหยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบ ตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาตามกำหนดเวลาดังกล่าว

        พิธีทำบุญเข้าพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ชาวบ้านมีการถวายภัตตาหารเข้าหรือเพล พร้อมเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ เช่น ไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค เป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง น้ำมัน เป็นต้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เชื่อว่าถวายแล้วทำให้ตาทิพย์และสติปัญญาดี จอกจากนี้ มีการถวายต้นเทียน ซึ่งหล่อเป็นเล่ม หรือแท่งขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงาม และผ้าอาบน้ำฝน ตลอดบริวารอื่น ๆ แด่พระสงฆ์ มีการสวดมนต์ และฟังเทศน์ด้วย
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดินimage
       บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินจะประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่ ซึ่งเราห่อหรือใส่กระทงไปวางไว้ตามพื้น หรือแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวประดับดินมีว่า ครั้งสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารไปกินอาหารของพระสงฆ์ ตายไปแล้วจึงเกิดเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้ว มิได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ถึงเวลากลางคืนจึงพากันมาส่งเสียงรบกวนเพื่อขอส่วนบุญ พระเจ้าพิมพิสารจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแจ้งเหตุให้ทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงีราบ จึงถวายสสังฆทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกกุศลไปให้ญาติพี่น้อง จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดินขึ้น

       พิธีทำบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมนิยมถวายทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ และมีการเตรียมอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ โดยห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทง รุ่งเช้าในวันแรม 14 ค่ำ เวลาประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา นำห่อหรือกระทงที่เตรียมไว้ไปถวายหรือแขวนในบริเวณวัด ในการวางสิ่งของเพื่ออุทิศให้เปรตหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วดังกล่าว บางท้องถิ่นอาจทำก่อนถวายทานก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

image
        ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวสากมีว่า บุตรกุฏมณีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึงหาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าเมียน้อยและลูก ก่อนตายเมียน้อยคิดอาฆาตเมียหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สามยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามี จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากสืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า ตาแฮก

       พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำเอาห่อหรือชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก


เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
image
       ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์ทำพิธีออกพรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน 11 ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญออกพรรษามีว่า เนื่องจากพระภิกษุสามเณรได้มารวมกันอยู่ประจำที่วัด โดยจะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากเหตุจำเป็นเป็นเวลา 3 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะมาร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณ์ คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งภายหลังนั้นพระภิกษุสสามเณรส่วนมากจะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามในชอบ และบางรูปอาจจะลาสิกขาบท โอกาสที่พระภิกษุสามเณรจะอยู่พร้อมกันที่วัดมาก ๆ เช่นนี้ย่อมยาก ชาวบ้านจึงถือโอกาสเป็นวันสำคัญไปทำบุญที่วัด และในช่วงออกพรรษาชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่นา และอากาศสดชื่นเย็นดี จึงถือโอกาสทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน

        พิธีทำบุญออกพรรษา วันขึ้น 14 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันใหญ่ ส่วนวันแรม 1 ค่ำ ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมันล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา และการส่วงเรือ(แข่งเรือ) เพื่อความสนุกสนานและร่วมสามัคคี


เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
image
        บุญกฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย

       มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด

       ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
       ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
       ข. มหากฐิน
       ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน

       พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี



           คลองสิบสี่      หมายถึง แนวทางปฎิบัติวิถีทางที่ดีที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปกครอง พ่อแม่นำไปสอนลูกปู่ย่าตายายนำไปสอนหลาน พระนำไปสอนพุทธศาสนิกชนและประชาชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีทั้งหมด 14 ข้อซึ่งเป็นแนวปฏิบัติระดับบุคคลครอบครัวและส่งผลต่อส่วนรวม ซึ่งยกได้ 2แนวคือบุคคลทั่วไปและสำหรับท้าวพระยาข้าราชการผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งความเป็นจริงคลองสิบสี่มีความเป็นมาจากประเทศลาวเพราะกฎหมายมีคลองสิบปรากฎชัดเจนและชาวอีสานก็ใช้ภาษาอักษรลาวและคบประชนแก่ก็อ่านออกได้มากทำให้คลองสิบสี่ถูกนำเข้าสู่อีสานได้ง่าย เป็นแบบอย่างฮีตคลองจนถึงปัจจุบัน      
    คลองสิบสี่มีหลายประเภทต่างกันแต่สามารถแบ่งได้มี3ประเภท ได้แก่ สำหรับประชาชนทั่วไป พระสงฆ์ และผู้ปกครองตั้งผู้ใหญ่บ้านจนถึงมหากษัตริย์                                                   
            

          คลองสิบสี่ประเภทสอนผู้ปกครองเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ชาวลาวไทยนับถือเคารพเหมือนกันเป็นศูนย์รวมจิตใจ คือพระมหากษัตริย์ และชาวอีสานจะให้ความเคารพเชื่อถือมาก หากผู้นำมีคุณธรรมยิ่งเคารพและนับถือมาก ดั้งนั้นจึงบัญญัติคลองสิบสี่ขึ้น เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองจะได้ปกครองให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข     

คลอง 1 ผู้ปกครองต้องรู้จักแต่งตั้งอำมาตย์ราชมนตรีผู้มีความรู้ฉลาดและตั้งมั่นในพรหมวิหารธรรมคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริตไม่คตโกงเป็นผู้ปกครองที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข                              
คลอง 2 ผู้ที่เป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ต้องตั้งมั่นในคุณธรรม10ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล บริจาค ซื่อตรง อ่อนโยน ความเพียร ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน อดทน ไม่ประพฤติผิด                                              
 คลอง3 ปีใหม่ผู้นำต้องนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระตามประเพณี                                              
 คลอง4 เมือถึงสงกรานต์ต้องมีพิธี แห่พระสงฆ์ สรงน้ำพระและพิธีเลื่อนตำแหน่งพระ                           

คลอง5ต้องทำพิธีสู่ขวัญเพื่อถวายพระพรแด่พระราชาและสงน้ำพระราชา                                              
คลอง6พอวันปีใหม่ประชาชนทำพิธีดื่มน้ำสาบานเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระราชา                         
คลอง7ถึงเดือนเจ็ดทำพิธีบูชาถวายเครื่องสังเวยแด่เทพารักษ์หลักเมือง เป็นการแก้บน                          
คลอง8จัดให้มีพิธีทำขวัญเมืองสะเดาะเคราะห์เมืองยิงปืนหว่านกรวดทรายไล่ภูตผี                                 
คลอง9ให้ทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาตเปรตผู้ล่วงลับไปแล้ว
คลอง10ให้ทำบุญข้าวสากเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไป                              

คลอง11ให้ทำบุญออกพรรษามีพิธีปวารณาประทีปโคมไฟตามสถานที่ต่างๆล่องเรือไฟ                            
คลอง12ให้แข่งเรือเพื่อบูชาพระญานาคสิ่งสถิตใต้บาดาล        
คลอง13ให้มีพิธีสมโภสแห่แหนพระราชา ทำบุญให้ทาน ฉลองแสดงความจงรักภักดี                                    
คลอง14ให้พระราชาจัดหาสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ดีมีสุขเป็นปึกแผ่นและเจริญก้าวหน้า   
        
     คลองสิบสี่ ประเภทสอนพระสงฆ์ เพื่อเตือนพระสงฆ์ให้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองธรรม                       
 คลอง 1 ให้พระศึกษาพระธรรม227ข้อ อย่าให้ขาด       
คลอง2 ให้ดูแลกุฏิวิหารปัดกวาดเช็ดถูอย่าให้เศร้าหมอง
คลอง3   ให้กระทำปฏิบัติและสนองศรัทธาประชาชน 
คลอง 4 ถึงเดือนแปดให้เข้าพรรษาเดือนและเดือน12รับผ้ากฐินครบสี่เดือน
คลอง5 ออกพรรษาแล้วภิกษุต้องเข้าอยู่ปริวาสกรรม 
คลอง6ให้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตร
คลอง7 ให้สวดมน ทำวัตรเจริญสมาธิทุกคืนอย่าขาด
คลอง8 วันพระประชุมลงอุโบสถทำสังฆกรรมไม่ขาด
คลอง9 ปีใหม่ให้นำน้ำสรงพระพุทะรูปพระเจดีย์        
คลอง10 ถึงศักราชปีใหม่พระเจ้าแผ่นดินให้ไหว้พระสรงน้ำในพระราชวังและทำบายศรี      
คลอง11 ให้ทำตามกิจนิมนต์ชาวบ้าน                               
คลอง12 ให้สร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์   
คลอง13 ให้รับสิ่งของทายกให้ทาน                            
คลอง14 พระมหากษัตริย์ ข้าราชการขั้นผู้ใหญ่มีศรัทธานิมนต์ให้มาประชุมกันในพระอุโบสถในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดเป็นงานใหญ่อย่าขาด   ชาวอีสานและลาวได้ถือคลองร่วมกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติทำให้พระสงฆ์ของอีสานในอดีตไม่มีปัญหาและมีพระอริยสงฆ์เกิดขึ้นมากมายเพราะท่านเคร่งครัดทำให้วัตรปฏิบัติท่านดีงามนามาซึ่งความสุขคุณธรรม คำสอนที่ดี                                                               

คลองสิบสี่ ประเภทสอนประชาชนทั่วไป                                                                              
    โดยสรุปได้เป็นแนวปฏิบัติ คือ เมื่อฤดูข้าวออกรวงเก็บผลผลิตอย่าพึ่งนำมารับประทานให้นำไปทำบุญก่อน อย่าเป็นคนโลภมาก เห็นแก่ตัว ให้สร้างหอบูชาสี่มุมบ้าน รั้วกำแพงวัด ก่อนขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้า เมื่อถึงวันพระให้คาราวะก้อนเส้า บันไดบ้านประตูบ้าน  และนำดอกไม้ธูปเทียนคาราวะสามี และวันอุโบสถให้ถวายพระสงฆ์ ก่อนนอนให้ล้างเท้าให้สะอาด และพอถึงวันดับขึ้นหรือแรม15ค่ำให้นิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์และตักบาตรบ้าน เมื่อพระมาใส่บาตรอย่าให้ท่านได้รอ และเมื่อพระเข้าปริวาสกรรมเสร็จให้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ภิกษุเดินผ่านให้นั่งลงยกมือไหว้ก่อนพูดด้วย อย่าเยียบเงาพระสงฆ์ อย่าเอาอาหารเหลือกินไปถวายและอย่าให้สามีกินเพราจะบาปตลอดชาตินี้และหน้าและสำคัญเมื่อถึงวันพระ เข้าพรรษา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ห้ามเสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพราะลูกหลานจะสอนยาก  จากคลองคำสอนที่กล่าวมาถ้าปฏิบัติได้จะนำมาซึ่งความสงบสุข                                          
คลองงสิบสี่ประเภทสอนทุกเพสทุกวัยทุกฐานะ                                                                        
 ฮีตเจ้าคลองขุนคือแบบแผน คำสอน ที่ผู้ปกครองระดับสูงพึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุข ปกครองด้วยความเท่าเทียมกันทุกคน มีความเสมอภาค         
ฮีตท้างคลองเพีย คือเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ปกครองปล่อยปะละเลยห่างจากทศธรรมทำให้ประชาชนละเลยศีลธรรมปัญหาจึงเกิด    ฮีตไพร่คลองนาย คือผู้ปกครองอย่าอวดอ้าง อย่าลืมตัว เจ้านายจะดีคนเดียวไม่ได้ ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เป็นใหญ่แล้วให้รักผู้น้อยและใครทำดี ได้ดีก็ให้เคารพ 
ฮีตบ้านคลองเมือง คือ มุ่งให้ทุกคนรู้จักอีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อทุกคนได้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีความสุขและผู้ปกครองต้องมีใจเป็นธรรมและกล้าหาญ  
ฮีตผัวคลองเมีย มุ่งให้สามีภรรยาปฏิบัติดีต่อกัน 
ฮีตพ่อคลองเมีย มุ่งสอนพ่อแม่ให้อบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกทาง  
ฮีตลูกคลองหลาน สอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มี
 ความยำเกรงต่อผู้ใหญ   

ฮีตใภ้คลองเขย มุ่งสอนลูกสะใภ้และลูกเขยให้ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ยายปู่ย่าตายายให้ถูกต้องตามคลองธรรม 
ฮีตป้าคลองลุง สอนให้ป้าลุงปฏิบัติต่อกันญาติพี่น้องให้ดี 
ฮีตปู่คลองย่า ฮีตตาคลองยาย สอนให้ปู่ยาตายายปฏิบัติเป็นปูชนียบุคคลที่ดี 
ฮีตเฒ่าคลองแก่มุ่งสอนคนแก่ทั่วไป 
ฮีตปีคลองเดือน สอนชาวอีสานรักษาฮีตสิบสองคลองสิบสี่    
ฮีตไฮ่คลองนา มุ่งสอนให้ชาวนารู้จักรักษาดูแลไร่นา 
ฮีตวัดคลองสงฆ์ มุ่งสอนให้ปฏิบัติ วัตรฐาก ดูแลวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์

 คลองสิบสี่ เป็นแนวแบบแผนประพฤติปฏิบัติของบุคคลกลุ่มต่างๆที่ให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามจึงทำให้สังคมอีสานมีความสุขสงบ ร่มเย็นตลอดมา                                                                       
 ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่ชาวอีสาน และคนภาคอื่นควรเรียนรู้ แล้วนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่การปกครอง การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมได้