เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร
มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวสากมีว่า บุตรกุฏมณีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึงหาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าเมียน้อยและลูก ก่อนตายเมียน้อยคิดอาฆาตเมียหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สามยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามี จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากสืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า ตาแฮก
พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำเอาห่อหรือชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์ทำพิธีออกพรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน 11 ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์
มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญออกพรรษามีว่า เนื่องจากพระภิกษุสามเณรได้มารวมกันอยู่ประจำที่วัด โดยจะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากเหตุจำเป็นเป็นเวลา 3 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะมาร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณ์ คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งภายหลังนั้นพระภิกษุสสามเณรส่วนมากจะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามในชอบ และบางรูปอาจจะลาสิกขาบท โอกาสที่พระภิกษุสามเณรจะอยู่พร้อมกันที่วัดมาก ๆ เช่นนี้ย่อมยาก ชาวบ้านจึงถือโอกาสเป็นวันสำคัญไปทำบุญที่วัด และในช่วงออกพรรษาชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่นา และอากาศสดชื่นเย็นดี จึงถือโอกาสทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน
พิธีทำบุญออกพรรษา วันขึ้น 14 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันใหญ่ ส่วนวันแรม 1 ค่ำ ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมันล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา และการส่วงเรือ(แข่งเรือ) เพื่อความสนุกสนานและร่วมสามัคคี
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
บุญกฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย
มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด
ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
ข. มหากฐิน
ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน
พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี
คลองสิบสี่ หมายถึง แนวทางปฎิบัติวิถีทางที่ดีที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปกครอง พ่อแม่นำไปสอนลูกปู่ย่าตายายนำไปสอนหลาน พระนำไปสอนพุทธศาสนิกชนและประชาชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีทั้งหมด 14 ข้อซึ่งเป็นแนวปฏิบัติระดับบุคคลครอบครัวและส่งผลต่อส่วนรวม ซึ่งยกได้ 2แนวคือบุคคลทั่วไปและสำหรับท้าวพระยาข้าราชการผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งความเป็นจริงคลองสิบสี่มีความเป็นมาจากประเทศลาวเพราะกฎหมายมีคลองสิบปรากฎชัดเจนและชาวอีสานก็ใช้ภาษาอักษรลาวและคบประชนแก่ก็อ่านออกได้มากทำให้คลองสิบสี่ถูกนำเข้าสู่อีสานได้ง่าย เป็นแบบอย่างฮีตคลองจนถึงปัจจุบัน
คลองสิบสี่มีหลายประเภทต่างกันแต่สามารถแบ่งได้มี3ประเภท ได้แก่ สำหรับประชาชนทั่วไป พระสงฆ์ และผู้ปกครองตั้งผู้ใหญ่บ้านจนถึงมหากษัตริย์
คลองสิบสี่ประเภทสอนผู้ปกครองเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ชาวลาวไทยนับถือเคารพเหมือนกันเป็นศูนย์รวมจิตใจ คือพระมหากษัตริย์ และชาวอีสานจะให้ความเคารพเชื่อถือมาก หากผู้นำมีคุณธรรมยิ่งเคารพและนับถือมาก ดั้งนั้นจึงบัญญัติคลองสิบสี่ขึ้น เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองจะได้ปกครองให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
คลอง 1 ผู้ปกครองต้องรู้จักแต่งตั้งอำมาตย์ราชมนตรีผู้มีความรู้ฉลาดและตั้งมั่นในพรหมวิหารธรรมคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริตไม่คตโกงเป็นผู้ปกครองที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข
คลอง 2 ผู้ที่เป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ต้องตั้งมั่นในคุณธรรม10ประการ คือ ให้ทาน รักษาศีล บริจาค ซื่อตรง อ่อนโยน ความเพียร ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน อดทน ไม่ประพฤติผิด
คลอง3 ปีใหม่ผู้นำต้องนำน้ำอบน้ำหอมไปสรงพระตามประเพณี คลอง4 เมือถึงสงกรานต์ต้องมีพิธี แห่พระสงฆ์ สรงน้ำพระและพิธีเลื่อนตำแหน่งพระ
คลอง5ต้องทำพิธีสู่ขวัญเพื่อถวายพระพรแด่พระราชาและสงน้ำพระราชา
คลอง6พอวันปีใหม่ประชาชนทำพิธีดื่มน้ำสาบานเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระราชา
คลอง7ถึงเดือนเจ็ดทำพิธีบูชาถวายเครื่องสังเวยแด่เทพารักษ์หลักเมือง เป็นการแก้บน
คลอง8จัดให้มีพิธีทำขวัญเมืองสะเดาะเคราะห์เมืองยิงปืนหว่านกรวดทรายไล่ภูตผี
คลอง9ให้ทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาตเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วคลอง10ให้ทำบุญข้าวสากเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไป
คลอง11ให้ทำบุญออกพรรษามีพิธีปวารณาประทีปโคมไฟตามสถานที่ต่างๆล่องเรือไฟ คลอง12ให้แข่งเรือเพื่อบูชาพระญานาคสิ่งสถิตใต้บาดาล คลอง13ให้มีพิธีสมโภสแห่แหนพระราชา ทำบุญให้ทาน ฉลองแสดงความจงรักภักดี คลอง14ให้พระราชาจัดหาสิ่งที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ดีมีสุขเป็นปึกแผ่นและเจริญก้าวหน้า
คลองสิบสี่ ประเภทสอนพระสงฆ์ เพื่อเตือนพระสงฆ์ให้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองธรรม
คลอง 1 ให้พระศึกษาพระธรรม227ข้อ อย่าให้ขาด คลอง2 ให้ดูแลกุฏิวิหารปัดกวาดเช็ดถูอย่าให้เศร้าหมองคลอง3 ให้กระทำปฏิบัติและสนองศรัทธาประชาชน คลอง 4 ถึงเดือนแปดให้เข้าพรรษา3 เดือนและเดือน12รับผ้ากฐินครบสี่เดือนคลอง5 ออกพรรษาแล้วภิกษุต้องเข้าอยู่ปริวาสกรรม คลอง6ให้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตรคลอง7 ให้สวดมน ทำวัตรเจริญสมาธิทุกคืนอย่าขาด
คลอง8 วันพระประชุมลงอุโบสถทำสังฆกรรมไม่ขาดคลอง9 ปีใหม่ให้นำน้ำสรงพระพุทะรูปพระเจดีย์ คลอง10 ถึงศักราชปีใหม่พระเจ้าแผ่นดินให้ไหว้พระสรงน้ำในพระราชวังและทำบายศรี คลอง11 ให้ทำตามกิจนิมนต์ชาวบ้าน คลอง12 ให้สร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์ คลอง13 ให้รับสิ่งของทายกให้ทาน คลอง14 พระมหากษัตริย์ ข้าราชการขั้นผู้ใหญ่มีศรัทธานิมนต์ให้มาประชุมกันในพระอุโบสถในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดเป็นงานใหญ่อย่าขาด ชาวอีสานและลาวได้ถือคลองร่วมกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติทำให้พระสงฆ์ของอีสานในอดีตไม่มีปัญหาและมีพระอริยสงฆ์เกิดขึ้นมากมายเพราะท่านเคร่งครัดทำให้วัตรปฏิบัติท่านดีงามนามาซึ่งความสุขคุณธรรม คำสอนที่ดี คลองสิบสี่ ประเภทสอนประชาชนทั่วไป โดยสรุปได้เป็นแนวปฏิบัติ คือ เมื่อฤดูข้าวออกรวงเก็บผลผลิตอย่าพึ่งนำมารับประทานให้นำไปทำบุญก่อน อย่าเป็นคนโลภมาก เห็นแก่ตัว ให้สร้างหอบูชาสี่มุมบ้าน รั้วกำแพงวัด ก่อนขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้า เมื่อถึงวันพระให้คาราวะก้อนเส้า บันไดบ้านประตูบ้าน และนำดอกไม้ธูปเทียนคาราวะสามี และวันอุโบสถให้ถวายพระสงฆ์ ก่อนนอนให้ล้างเท้าให้สะอาด และพอถึงวันดับขึ้นหรือแรม15ค่ำให้นิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์และตักบาตรบ้าน เมื่อพระมาใส่บาตรอย่าให้ท่านได้รอ และเมื่อพระเข้าปริวาสกรรมเสร็จให้ถวายดอกไม้ธูปเทียน ภิกษุเดินผ่านให้นั่งลงยกมือไหว้ก่อนพูดด้วย อย่าเยียบเงาพระสงฆ์ อย่าเอาอาหารเหลือกินไปถวายและอย่าให้สามีกินเพราจะบาปตลอดชาตินี้และหน้าและสำคัญเมื่อถึงวันพระ เข้าพรรษา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ห้ามเสพเมถุน(ร่วมเพศ)เพราะลูกหลานจะสอนยาก จากคลองคำสอนที่กล่าวมาถ้าปฏิบัติได้จะนำมาซึ่งความสงบสุข
คลองงสิบสี่ประเภทสอนทุกเพสทุกวัยทุกฐานะ ฮีตเจ้าคลองขุนคือแบบแผน คำสอน ที่ผู้ปกครองระดับสูงพึงนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุข ปกครองด้วยความเท่าเทียมกันทุกคน มีความเสมอภาค ฮีตท้างคลองเพีย คือเหตุร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ปกครองปล่อยปะละเลยห่างจากทศธรรมทำให้ประชาชนละเลยศีลธรรมปัญหาจึงเกิด ฮีตไพร่คลองนาย คือผู้ปกครองอย่าอวดอ้าง อย่าลืมตัว เจ้านายจะดีคนเดียวไม่ได้ ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เป็นใหญ่แล้วให้รักผู้น้อยและใครทำดี ได้ดีก็ให้เคารพ ฮีตบ้านคลองเมือง คือ มุ่งให้ทุกคนรู้จักอีตสิบสองคลองสิบสี่เพื่อทุกคนได้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีความสุขและผู้ปกครองต้องมีใจเป็นธรรมและกล้าหาญ ฮีตผัวคลองเมีย มุ่งให้สามีภรรยาปฏิบัติดีต่อกัน ฮีตพ่อคลองเมีย มุ่งสอนพ่อแม่ให้อบรมเลี้ยงดูลูกให้ถูกทาง ฮีตลูกคลองหลาน สอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี มี ความยำเกรงต่อผู้ใหญ
ฮีตใภ้คลองเขย มุ่งสอนลูกสะใภ้และลูกเขยให้ปฏิบัติต่อพ่อตาแม่ยายปู่ย่าตายายให้ถูกต้องตามคลองธรรม ฮีตป้าคลองลุง สอนให้ป้าลุงปฏิบัติต่อกันญาติพี่น้องให้ดี ฮีตปู่คลองย่า ฮีตตาคลองยาย สอนให้ปู่ยาตายายปฏิบัติเป็นปูชนียบุคคลที่ดี ฮีตเฒ่าคลองแก่มุ่งสอนคนแก่ทั่วไป ฮีตปีคลองเดือน สอนชาวอีสานรักษาฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ฮีตไฮ่คลองนา มุ่งสอนให้ชาวนารู้จักรักษาดูแลไร่นา ฮีตวัดคลองสงฆ์ มุ่งสอนให้ปฏิบัติ วัตรฐาก ดูแลวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์
คลองสิบสี่ เป็นแนวแบบแผนประพฤติปฏิบัติของบุคคลกลุ่มต่างๆที่ให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามจึงทำให้สังคมอีสานมีความสุขสงบ ร่มเย็นตลอดมา
ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าที่ชาวอีสาน และคนภาคอื่นควรเรียนรู้ แล้วนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่การปกครอง การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น